วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Machu Picchu เมืองสาบสูญแห่งอาณาจักรอินคา ที่ประเทศเปรู




มาชู ปิกชู เป็นผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมที่ นักวิทยาศาสตร์พากันฉงนสนเท่ห์ ว่าคนยุคนั้นสร้างมาได้อย่างไร


สถานที่ตั้งของ มาชู ปิกชู ตั้งอยู่บนผาสูงชัน กลางป่าดงดิบอเมซอน เป็นการยากที่จะขนแท่งหินขนาดใหญ่ ไปวางเชื่อมกันอย่างสมดุล เรียงรายต่อกันเป็นชั้นๆได้เรียบสนิท โดยไม่ใช้ล้อเลื่อนหรือลูกรอกแต่อย่างใด คนยุคนั้นเขาเรียนรู้การขนย้ายแท่งหินขนาดยักษ์มาจากที่ไหน และทำได้อย่างไร และยังคงเป็นปริศนาที่ยังไม่มีใครทราบตาบเท่าทุกวันนี้


คาดกันว่า มาชู ปิกชู น่าจะก่อสร้างขึ้นในยุคที่อินคารุ่งเรืองราวปี ค.ศ.1440-1450 (พ.ศ.1993)โดยจักรพรรดิ์ปาชากูตี(Pachacute)ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอินคา ชื่อ Machu Picchu นั้นหมายถึง ภูเขาโบราณ (Old Mountain) มีการสันนิษฐานกันถึงช่วงเวลาและเหตุผลในการสร้าง ซึ่งแตกแยกออกไปหลายทฤษฎี บ้างก็ว่า มาชู ปิกชู ไม่ใช่ชุมชนที่อยู่อศัยหรือเมือง แต่น่าจะเป็นการสร้างเพื่อพักอาศัยของผู้มีอันจะกินของชาวอินคาในยุคนั้น บ้างก็ว่านี่คือศาสนสถาน หรือเป็นสุสานอันยิ่งใหญ่ของผู้สร้างอาณาจักรอินคา


สิ่งก่อสร้างต่างๆในมาชู ปิกชู ทั้งอาคาร ที่อยู่อาศัย อุโมงค์ อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทานที่นำน้ำไปใช้บนผาสูงชันโดยการผันน้ำไปไว้ในที่สูงก่อนปล่อยน้ำลงมาตามคลองเล็กๆ เพื่อการเกษตร รูปแบบการเกษตรหรือการทำนาเกลือที่เก่าแก่แบบขั้นบันได หอคอยสำหรับการเฝ้ามองดูผู้รุกราน การสร้างถนน สิ่งก่อสร้างตามไหล่เขา ที่ไล่ระดับเป็นขั้นๆ ซากกำแพงหินแกรนิตสีขาว ทุกร่องรอยของสถาปัตยกรรรมทั้งหลายเหล่านี้ นอกจากจะดูสวยงามแล้ว ยังสะท้อนถึงความหลักแหลมทางเทคนิควิทยาการก่อสร้างของอาณาจักรอินคาในยุคนั้นได้อย่างดี


มาชู ปิกชู เผยตัวสู่ชาวโลกหลังเป็นนครสาบสูญอยู่นาน ก็ด้วยผลงานของนักสำรวจ นักผจญภัย และนักล่าสมบัติ นาม Hiram Bingham ศาตราจารย์ด้านประวัติศาตร์แห่งมาวิทยาลัย Yale เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมานี้เอง

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

มรดกโลกในประเทศฝรั่งเศส



มรดกโลกในประเทศฝรั่งเศส ( Patrimoine Mondial en France )
มหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์




1. บทนำ
มรดกโลก (ภาษาอังกฤษ: World Heritage Site ภาษาฝรั่งเศส Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ที่คัดเลือกโดยองค์การยูเนสโก UNESCO (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต และเกือบทุกประเทศทั่วโลกก็จะมีมรดกโลก และหนึ่งในนั้นก็มีทวีปยุโรปที่มีมรดกโลกมากเป็นอันดับ1ของโลก และประเทศฝรั่งเศสก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับคัดเลือกสถานที่สำคัญมากมายจากองค์กรยูเนสโกว่ามีมรดกโลกเยอะมาก
ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงมีความสนใจ และ เห็นความสำคัญเกี่ยวกับคุณค่าทางอนุสรณ์สถานของ มหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์ หรือ มหาวิหารแรงส์ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมหาวิหารแรงส์แห่งนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากองค์การยูเนสโกว่าเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม
(i) เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
(ii) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(vi) มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
และกลุ่มของข้าพเจ้าจะได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของหาวิหารแรงส์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้ให้มากยิ่งขึ้น

2. ที่ตั้งและภูมิประเทศ




ที่ตั้ง : เมืองแรงส์ จังหวัดมาร์น แคว้นชองปาญ-อาร์แดน ประเทศฝรั่งเศส เมืองแรงส์ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ราว 129 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของปารีส
แรงส์ ก่อตั้งขึ้นโดยกอล และ กลายมาเป็นเมืองสำคัญระหว่างสมัยจักรวรรดิโรมัน ต่อมาแรงส์ก็มามีบทบาทสำคัญต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในการเป็นสถานที่สำหรับการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์
ภูมิประเทศ : ประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก มีพื้นที่ 543,935 ตารางกิโลเมตร (210,013 ตารางไมล์) ทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป
ประเทศฝรั่งเศสมีพื้นที่ครอบคลุมลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายมากตั้งแต่ที่ราบชายฝั่งในภาคเหนือและตะวันตก ซึ่งติดกับทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ไปจนถึงเทือกเขาแอลป์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ราบสูงมาสซิฟ ซองตราล ทางภาคใต้ตอนกลางและเทือกเขาปีเรเนส์ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศฝรั่งเศสยังมีจุดที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตะวันตกคือ ยอดเขามงต์บล็องก์ หรือ มองต์บลังก์ (Mont Blanc) ซึ่งสูง 4,807 เมตร (15,770 ฟุต) ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอลป์ บริเวณชายแดนประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปยังมีแม่น้ำต่างๆ ที่สำคัญอีกมากมาย เช่น แม่น้ำลัวร์,แม่น้ำการอนน์,แม่น้ำแซนและแม่น้ำโรนซึ่งแบ่งที่ราบสูงมาสซิฟ ซองตราลออกจากเทือกเขาแอลป์อีกด้วย โดยไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่กามาร์ก ซึ่งเป็นจุดที่ต่ำที่สุดในประเทศฝรั่งเศส (2 เมตร หรือ 6.5 ฟุต จากระดับน้ำทะเล) และยังมีกอร์ส (คอร์ซิกา) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน


3. ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
มหาวิหารแรงส์ หรือ มหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์ (Cathédrale Notre-Dame de Reims) เป็นมหาวิหารของเมืองแรงส์ ประเทศฝรั่งเศส เมืองแรงส์ก่อตั้งขึ้นโดยกอล และ กลายมาเป็นเมืองสำคัญระหว่างสมัยจักรวรรดิโรมัน ต่อมาแรงส์ก็มามีบทบาทสำคัญต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในการเป็นสถานที่สำหรับการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์
มหาวิหารแรงส์ หรือ มหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์ ยังเคยใช้ในพิธีสวมมงกุฎกษัตริย์ของประเทศฝรั่งเศส มหาวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างบนมหาวิหารเดิมที่ถูกไหม้ไปเมื่อค.ศ. 1211
ที่พระเจ้าโคลวิสที่ 1 ผู้ถือกันว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกของฝรั่งเศสได้ทำพิธีรับศีลจุ่มจากนักบุญเรมี(St.Remi) บาทหลวงของเมืองแรงส์ เมื่อค.ศ. 496

4. ผู้สร้าง/ยุคสมัยที่สร้าง/การก่อสร้าง
มหาวิหารสร้างเสร็จเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ยกเว้นด้านหน้าซึ่งมาเสร็จเอาอีกศตวรรษหนึ่งต่อมา แต่ยังเป็นสถาปัตยกรรมของคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทางเดินกลางขยายให้ยาวขึ้นเพื่อให้มีเนื้อที่เพียงพอกับผู้ที่เข้าร่วมพิธีสวมมงกุฎ หอสูง 81 เมตรย่อจากแบบเดิมที่ออกแบบให้สูง 120 เมตร หอด้านใต้มีระฆังสองใบ ใบหนึ่งคาร์ดินาลแห่งลอเรนตั้งชื่อให้ว่า “ชาร์ลอต” เมื่อปีค.ศ. 1570 ซึ่งหนักกว่า 10,000 กิโลกรัมหรือ 11 ตัน
เมื่อปี ค.ศ. 1875 รัฐสภาแห่งประเทศฝรั่งเศสอนุมัติเงินจำนวน 80,000 ปอนด์เพื่อปฏิสังขรณ์ด้านหน้ามหาวิหาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของมหาวิหาร และนับว่าเป็นงานฝีมือชิ้นเอกจากยุคกลาง เมื่อมหาวิหารโดนระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็ได้ทำลายบริเวณสำคัญๆ ของมหาวิหารไปมาก การบูรณะปฏิสังขรณ์เริ่มอีกครั้งเมื่อปี ค.ศ. 1919 และมาเสร็จเมื่อในปี ค.ศ. 1938 แต่การซ่อมก็ยังทำต่อเนื่องกันมาโดยมิได้หยุดยั้งจนทุกวันนี้


http://abroad-tour.com/france/ville_de_rheims/notre_dame_de_reims.html




5. รูปแบบศิลปะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
รูปแบบภายนอก : ประตูทางเข้าด้านหน้ามีสามบาน แต่ละบานเต็มไปด้วยรูปปั้นทั้งใหญ่และเล็กประดับ ประตูกลางอุทิศให้กับพระแม่มารี เหนือประตูแทนที่จะเป็นหน้าบันหินแกะสลักกลับเป็นหน้าต่างกุหลาบกรอบเป็นซุ้มโค้งที่ประกอบไปด้วยรูปปั้น เหนือระดับประตูเป็นระเบียงตรงกลาง และด้านล่างเหนือประตูจะมีหน้าต่างกุหลาบบานใหญ่อีกบานหนึ่ง ถัดขึ้นไปจากนั้นเป็นระเบียงรูปปั้นพระเจ้าแผ่นดิน (gallery of the kings) ซึ่งมีรูปปั้นพระเจ้าโคลวิสที่ 1 รับศึลจุ่มอยู่ตรงกลาง
ด้านหน้าทางแขนกางเขนด้านเหนือและใต้ตกแต่งด้วยรูปปั้น ทางด้านเหนือเป็นบาทหลวงของแรงส์ และการตัดสินครั้งสุดท้าย (Last Judgment) และรูป “พระเยซูผู้งดงาม” (“le Beau Dieu”) ทางด้านใต้เป็นหน้าต่างกุหลาบสมัยใหม่เรื่องศาสดาและสาวก 12 องค์ เมื่อปี ค.ศ. 1481 ไฟไหม้หลังคาวัดและทำลายหอคอยสี่หอที่สูงกว่าหลังคาจนราบลงมาแค่ระดับหลังคา เหนือบริเวณสงฆ์ขึ้นไปเป็นหอระฆังไม้หุ้มด้วยตะกั่วสูง 18 เมตรสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 และซ่อมเมื่อปี ค.ศ. 1920
รูปแบบภายใน : ทางเดินกลางของมหาวิหารยาว 138.75 เมตร กว้าง 30 เมตร สูง 38 เมตร ทางเดินกลางขนาบด้ายทางเดินข้าง แขนกางเขนก็เป็นทางเดินหลายช่อง บริเวณสงฆ์เป็นทางเดินคู่ หลังมุขมีทางเดินรอบ และคูหาสวดมนต์กระจายออกไปทางด้านหลัง ภายในมีหน้าต่างประดับกระจกสีที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 20 ประดับ
นอกจากนั้นทางมหาวิหารยังมีพรมทอแขวนผนัง (tapestries) ชุดที่มีค่าที่สุดถวายให้แก่วัดโดยโรเบิร์ต เดอ เลนองคอรต์ (Robert de Lenoncourt) ผู้เป็นอัครบาทหลวงในสมัยพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 เป็นเรื่องพระแม่มารี ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่วังเทา (Palace of Tau) ซึ่งเดิมเป็นที่ประทับของบาทหลวง ทางด้านเหนือแขนกางเขนมีออร์แกนในตู้แบบกอธิควิจิตร (Flamboyant Gothic) นาฬิกาที่ตกแต่งด้วยกลไกที่สวยงาม และงานหน้าต่างประดับกระจกสีโดยศิลปินมีชื่อเสียงชาวรัสเซีย มาร์ค ชากาล (Marc Chagall) ที่ติดตั้งเมื่อ ค.ศ. 1974
มหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ เมื่อปี ค.ศ. 1862
มหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์ได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 1991

ยอด Chevet เหนือบริเวณพิธีด้านตะวันออก

หน้าต่างกุหลาบบนหน้าบัน



พระเยซูแกะนูนในภาพการตัดสินครั้งสุดท้ายบนหน้าบัน

แกะนูนของอับราฮัมอุ้มผู้ทำดีขึ้นสวรรค์ในการตัดสินครั้งสุดท้ายบนหน้าบัน

นักบุญเรมีทำพิธีศีลจุ่มให้พระเจ้าโคลวิสที่ 1

อับราฮัมสละไอแซ็คผู้เป็นลูก

ประติมากรรมกอธิคตกแต่งด้านหน้ามหาวิหาร – เทวดายิ้ม

ทางเดินกลางมองไปทางตะวันตกจะเห็นหน้าต่างกุหลาบสองบานซ้อนกัน

หน้าต่างกุหลาบเหนือประตูทางเข้าด้านตะวันตกมองจากด้านใน

นักบุญโจนส์ออฟอาร์ค

แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขวา

http://th.wikipedia.org/wiki/


6. แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดมีดังนี้[3] หอไอเฟล (6.2 ล้าน) , พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (5.7 ล้าน) , พระราชวังแวร์ซายส์ (2.8 ล้าน) , พิพิธภัณฑ์ออร์เซ (2.1 ล้าน) , ประตูชัยฝรั่งเศส (1.2 ล้าน) , ซองตร์ ปอมปิดู (1.2 ล้าน) , มงต์-แซงต์-มิแชล (1 ล้าน) , ชาโต เดอ ชองบอร์ด (711,000) , แซงต์-ชาแปลล์ (683,000) , ชาโต ดู โอต์-โคนิคบูร์ก (549,000) , ปุย เดอ โดม (5 แสน) , พิพิธภัณฑ์ปิกัสโซ (441,000) และการ์กาสซอนน์ (362,000)


หอไอเฟล


(ฝรั่งเศส: Tour Eiffel) หอคอยโครงสร้างเหล็ก ที่Champ de Mars บริเวณแม่น้ำแซน ในเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส สถานที่และสัญลักษณ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของฝรั่งเศสก่อสร้างในปี พ.ศ. 2432 โดยกุสตาฟไอเฟล ผู้ออกแบบคนเดียวกับเทพีเสรีภาพ เพื่อเป็นสัญลักษณ์การจัดงานแสดงสินค้าโลกในปี 1889 ฉลองครบรอบ 100 ปีแห่งการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม หอไอเฟลทำขึ้นจากโลหะ 15,000 ชิ้น หนักถึง 7,000 ตัน ยึดต่อด้วยน๊อต 2,500,000 ตัว สีทาทั้งหมด 35 ตัน สูง 1,050 ฟุตสิ้นเงินค่าก่อสร้าง 7,799,401ฟรังก์แรกๆ ที่หอไอฟสร้างเสร็จ หอไอเฟลได้รับการประณามโดยทั่วไปว่าเป็นไอเดียที่ประหลาดและไม่เข้าท่าหอคอยไอเฟลได้ชื่อว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในช่วงเวลา พ.ศ. 2432 ถึง 2473 ในปัจจุบัน หอคอยไอเฟลมีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมประมาณ5.5ล้านคนต่อปีนับเป็นหนึ่งใน7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่


พระราชวังแวร์ซายน์


พระราชวังแวร์ซายน์ อยู่ในกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศสเป็นพระราชวังที่สวยงามน่ามหัศจรรย์ยิ่งแห่งหนึ่งของโลกสมัยปัจจุบัน สร้างโดย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส มีอัลเครด เลอ นอสเตอ์เป็นสถาปนิกลงมือสร้างเมื่อ ค.ศ. 1661 สร้างอยู่นาน 30 ปีจึงแล้วเสร็จ สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 500,000,000ฟรังก์ ใช้คนงาน 30,000คน ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาวเป็นแบบอย่างและศิลปกรรมก่อสร้างที่งดงามมาก ภายในพระราชวังแวร์ซายน์ แบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ห้องทรงพระอักษร ห้องโถง ห้องออกว่าราชการ ทุกห้องมีเครื่องประดับประดาล้วนแต่มีค่าสูงมากมายทั้งวัตถุ และภาพเขียนที่มีชื่อเสียง ห้องที่มีชื่อมากที่สุดของพระราช วังแห่งนี้ก็คือห้องกระจก ซึ่งเคยใช้เป็นห้องลงนามในสัญญาสงบศึก ระหว่างสัมพันธมิตรกับเยอรมันในมหายุทธสงครามโลกครั้งแรกและเป็นที่ใช้ลงนามในเมื่อเยอรมันบุกตีชนะฝรั่งเศสในมหายุทธสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ในการทำสงครามใหญ่ทุกครั้งฝรั่งเศสจะประกาศให้กรุงปารีสเป็นเขตปลอดสงครามคือไม่มีทหารตั้งอยู่ทั้งนี้เพื่อรักษาไม่ให้พระราชวังแห่งนี้ต้องได้รับความเสียหายจากการโจมตี ของข้าศึกไม่ว่าโดยทางใด



พิพิธภัณฑ์ลูฟร์
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (ฝรั่งเศส: Musée du Louvre) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณะชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์คาเปเทียง ตัวอาคารเดิมทีเคยเป็นพระราชวังหลวงซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks ผลงานของเลโอนาร์โดดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่ง Antiochในปี พ.ศ. 2549 พิพิธภัณฑ์ลูฟร์มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวน 8.3 ล้านคน ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก และยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในกรุงปารีส





ประตูชัย


ประตูชัยนี้ ตั้งอยู่บนถนนช็อง-เอลิเซ่ส์ ที่ตำบลเอตัวล์ บริเวณจตุรัสแห่งดวงดาว (Place de l'Etoile) เป็นประตูชัยที่สร้างโดยสถาปนิก ชื่อ ช็อง ชาลแกร็ง (Jean Chalgrin) ในสมัย พระเจ้านโปเลียนที่1และเสร็จในสมัยพระเจ้าหลุยส์-ฟิลลิปส์ (ค.ศ 1810-1836) สูง 50 เมตร หนา 50 เมตร และกว้าง 45 เมตร ที่ผนังด้านในใต้ส่วนโค้งมีการตกแต่งด้วยรูปสลักอันสวยงามต่างๆเช่น ผลงานชื่อ เดอปาร์ต เดส์ โวล็องติเอส หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ลา มาร์แซย์แยส (La Marseillaise) และผลงานเกี่ยวกับชัยชนะทางทิศตะวันตก ของ พระเจ้านโปเลียน ที่ตอนบนของส่วนโค้งเป็นภาพนูนต่ำ แสดงถึงพิธีศพของ มาร์โซ (Marceau) สงครามอาเล็กซานเดรีย (Alexandrie) ออสเตร์ลิทซ์ (Austerlitz)

มิวซีโดแรง บ้านของประติมากรเอกแห่งฝรั่งเศส ออกุสต์ โรแดง ซึ่งได้กลายเป็น พิพิธภัณฑ์แสดงผลงานที่ล้ำค่าที่โรแดงได้ทิ้งเอาไว้ให้เป็นสมบัติของชาติ ผู้ที่รักศิลปะไม่ควรพลาดการไปเยี่ยมชมที่นี่

http://pirun.ku.ac.th/~b4913134/tralvel.html


7. ของที่ระลึก
นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบประเทศฝรั่งเศสต้องรู้จักข้าวของเครื่องใช้ที่เลื่องชื่อในประเทศฝรั่งเศส
น้ำหอม
คือสิ่งแรกที่คุณคิดจะซื้อจากฝรั่งเศสอย่างแน่นอน เพราะประเทศนี้นั้นมีชื่อเสียงในการทำน้ำหอมอย่างมาก ฝรั่งเศสนั้นมีชื่อเสียงในด้าน การผลิตน้ำหอมที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในโลกเลยทีเดียวใครไปเที่ยวฝรั่งเศสก็มักจะซื้อยี่ห้อที่ฝรั่งเศสเป็นต้นตำรับแล้วราคาจะถูกกว่าที่นำมาขายในต่างประเทศมาก เมืองที่มีชื่อเสียงและมีโรงงานผลิตหัวน้ำหอมกลิ่นต่าง ๆได้แก่ เมืองกราส ทางตอนใต้ของประเทศ ยี่ห้อน้ำหอมที่ขึ้นชื่อที่ฝรั่งเศสเป็นต้นตำรับได้แก่ Christian Dior, Civenchy, Rochas, Guerlain, Paco Rabanne
เครื่องสำอางเครื่องสำอางนานาชนิด นับตั้งแต่ครีมบำรุงผิว แป้งฝุ่น ลิปสติก อายแชโดว์ มาสคาร่า อายไลเนอร์ ฯลฯ ที่มีชื่อเสียงในเมืองไทยล้วนผลิตในฝรั่งเศส เช่น Lancome, Orlane,Yves Saint Laurent ฯลฯ
เสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นทุกคนรู้จักฝรั่งเศสดีในนามของดินแดนแห่งแฟชั่นชั้นนำ เพราะ ที่นี่เป็นศูนย์รวมของดีไซเนอร์ชื่อดัง และเป็นต้นฉบับของแฟชั่นทั่วโลกเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าของ Channel, Yves Saint Laurent, Nina Ricci, Guy Laroche, Pierre Cardin ฯลฯ
กระเป๋าและเครื่องหนัง
ที่มีชื่อเสียงสุดๆ และเป็นที่นิยมสำหรับคนไทยก็คือ Channelและ Louis Vuittonเรียกได้ว่าถึงขนาดเข้าคิวกันซื้อเลยทีเดียว ร้านขายของที่ระลึกในฝรั่งเศสมีอยู่ทั่วไปตามสถานที่ท่อง เที่ยวต่างๆและมักมีราคาแพงพอสมควร คือประมาณ 100 บาทขึ้นไปแต่ด้วยความสวยงามและยั่วยวนใจของนานาสินค้าหลากหลายอาจทำให้นักท่องเที่ยวหลงลืมคิดเทียบเงินฟรังค์กับเงินบาทเลยทีเดียว



8. สรุป
เมืองแรงส์ก่อตั้งขึ้นโดย
กอล และได้กลายมาเป็นเมืองสำคัญระหว่างสมัยจักรวรรดิโรมัน ต่อมาเมืองแรงส์ก็มีบทบาทสำคัญต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในการเป็นสถานที่สำหรับการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์
มหาวิหารแรงส์ หรือ มหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์ ยังเคยใช้ในพิธีสวมมงกุฎกษัตริย์ของประเทศฝรั่งเศส มหาวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างบนมหาวิหารเดิมที่ถูกไหม้ไป
มหาวิหารแรงส์ หรือ มหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์ (Cathédrale Notre-Dame de Reims) เป็น
มหาวิหารของเมืองแรงส์ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสถานที่ที่เป็นมรดกโลกที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 กลุ่มของข้าพเจ้ารู้สึกทึ่งในรายละเอียดภาพแกะสลักภายนอกมหาวิหารและชอบศิลปะการสร้างและบูรณะขึ้นมาใหม่จากการสร้างสรรค์ ปติมากรรมที่น่าสนใจของสถาปนิกที่สร้างมหาวิหารแห่งนี้โดยใช้รายละเอียดการสร้างแบบประติมากรรมกอธิค การตกแต่งกระจกโดยใช้กระเบื้องแบบโมเสอิก และการแกะสลักภาพต่างๆที่ใช้ศิลปะการแกะนูน ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์ เพราะ สถาปนิกผู้สร้างจำเป็นที่จะต้องจดจำรายละเอียดของมหาวิหารเดิม และ ก่อสร้างขึ้นใหม่บนมหาวิหารเดิมที่ถูกไฟไหมไป กลุ่มของข้าพเจ้าจึงเห็นความสำคัญและต้องการที่จะนำเสนอรายละเอียดของมหาวิหารแห่งนี้ ซึ่งเป็นมรดกโลกที่น่าสนใจทางทวีปยุโรปก่อนที่มหาวิหารแห่งนี้จะถูกลืมไป และยังอยากที่จะนำเสนอสถานที่ที่เป็นมรดกโลกที่ใครๆอีกหลายคนไม่เคยได้รู้จักมาก่อน ให้ได้รู้จักเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย





















วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Postmodern Art





“ศิลปะและปรัชญาในยุคโพสท์โมเดิร์น”








คำว่าหลังสมัยใหม่ (Postmodern) เป็นแนวร่วมที่ครอบคลุมการปฏิเสธวิธีคิดของ ยุคสมัยใหม่ (Modern) คำนี้ปรากฏอยู่ในหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม สถาปัตยกรรม การออกแบบ และทัศนศิลป์ รวมไปถึงการพยายามอธิบายสังคมร่วมสมัยด้วยวิธีคิดแบบหลังสมัยใหม่ ด้วย คำว่าหลังสมัยใหม่ (Postmodern) มีต้นกำเนิดจากสถาปัตยกรรมของสหรัฐอเมริกา ในปี 1966 เมื่อสถาปนิกชาวอเมริกัน โรเบิร์ต เวนทูรี (Robert Venturi) ได้ตีพิมพ์หนังสือสัมมนาชื่อความสลับซับซ้อนและการคัดค้านกันเองในสถาปัตยกรรม ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นสัตยาบันของแนวร่วมกลุ่มความคิดนี้ ด้วยเนื้อหาทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบแล้วคำๆนี้ อาจนับย้อยไปตั้งแต่ปี 1949 เมื่อนิโคเลาส์ เปฟเนอร์ (Nicolaus Pevner) ได้นำคำนี้ออกมาใช้โจมตีนักเขียนคนอื่นๆในช่วงเวลานั้น แต่ ชาร์ลส์ เจงค์ส (Charles Jenks) สถาปนิกนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษได้เขียนเกี่ยวกับหนังสือว่าด้วยสถาปัตยกรรมชื่อ “ภาษาสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ นิซึม 1977”ซึ่งทำให้แนวร่วมที่ไร้พรมแดนนี้มีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง หนังสือเล่มนี้ได้วิเคราะห์ภาษาที่ใช้อยู่ในงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ อาศัยการใช้เหตุผลตามวิถีทางของสมัยใหม่ เจงค์สได้เก็บรวบรวมภาพงานสถาปัตยกรรมนานาชาติ ทั้งหมดซึ่งเน้นส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระ มากกว่าเน้นที่รูปทรง เน้นระบบสัญลักษณ์มากกว่าเหตุผล และเน้นความหมายหลายชั้นมากกว่าความหมายอย่างตื้นเขิน หนังสือเล่มนี้ทำให้เห็นความเป็นนานาชาติเจงค์สบรรยายว่าลัทธิหลังสมัยใหม่ เป็นรูปแบบผสม มีสาระเป็นประเด็นทางประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องของความทรงจำ เนื้อหาในท้องถิ่น และการใช้อุปมา มีความกำกวม เพื่อเข้าใจวัฒนธรรมของมนุษย์ได้อย่างกว้างขวางขึ้น ยอมรับความแตกต่าง หลายหลาย และไร้ระเบียบ การจะเข้าในลัทธิหลังสมัยใหม่ นั้นไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ เพราะตัวปรัชญาเองมีความกำกวมไม่มีการตัดสินถูกผิด ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือการทำความเข้าใน ลัทธิหลังสมัยใหม่ คือความต้องเข้าใจยุคสมัยใหม่ อย่างถ่องแท้เสียก่อนในทางศิลปะประเด็นสำคัญของศิลปะในยุคสมัยใหม่คือการเน้นในเรื่องของความเป็นต้นฉบับ (Originality) ซึ่งหมายความว่า ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ"ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่เป็นของตนเองและไม่เหมือนใคร ประเด็นต่อมา ศิลปะในยุคสมัยใหม่ จะเน้นและให้ความสำคัญในผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นมาแล้วต้องมีเอกภาพ (Unity) งานศิลปะชิ้นใดก็ตามที่ทำออกมาแล้ว ขาดเอกภาพ ก็จะไม่ถือว่าเป็นผลงานศิลปะที่ดี ศิลปะในยุคสมัยใหม่ ได้มีการแบ่งแยกระหว่างศิลปะกระแสหลักและศิลปะกระแสรองออกจากกัน งานศิลปะซึ่งเป็นที่ยอมรับกันที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะ หรือหอศิลป์ต่างๆ รวมทั้งผลงานศิลปะที่นักศึกษาทำกันขึ้นมา โดยร่ำเรียนกันมาจากสถาบันสอนศิลปะ เราจะจัดให้ศิลปะเหล่านี้อยู่ในกลุ่มของศิลปะกระแสหลัก (High Arts) ขณะเดียวกัน เราก็กันเอางานศิลปะที่ไม่ได้ผลิตขึ้นมาจากสถาบัน หรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ รวมทั้งงานที่ไม่ได้ผลิตขึ้นมาจากกลุ่มผู้ทำงานในกระแสหลักว่าศิลปะกระแสรอง (Low Arts) อย่างเช่น ศิลปะนอกกระแสต่างๆ ศิลปะของชาวบ้าน ต่อมา ศิลปะในยุคสมัยใหม่ เน้นรูปแบบศิลปะที่เป็นนานาชาติ (International) หมายความว่า ผลงานศิลปะและรวมไปถึงสถาปัตยกรรม จะต้องมีรูปแบบที่มีความเป็นนานาชาติ และเป็นสากล ศิลปินไม่ว่าชาติใด อยู่ในเขตภูมิศาสตร์ไหน หรือวัฒนธรมจะแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม เช่น เอเชีย ยุโรป อเมริกา แอฟริกา รูปแบบที่ผลิตออกมาจะต้องมีลักษณะเป็น นานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานทางด้านสถาปัตยกรรมจะมีแนวโน้มในลักษณะนี้มากตามเมืองใหญ่ๆของโลกจะต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ศิลปะในยุคสมัยใหม่ มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวมันเองอย่างไร ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจศิลปะในยุคหลังสมัยใหม่ ศิลปะในยุคหลังสมัยใหม่ ปฏิเสธสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ ศิลปะในยุคสมัยใหม่ บอกว่าจะต้องมีความเป็นต้นฉบับ จะลอกของคนอื่นมาไม่ได้ แต่ยุคหลังสมัยใหม่ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องของความเป็นต้นฉบับอันที่สอง ศิลปะในยุคสมัยใหม่ บอกว่าจะต้องมีเอกภาพในงานศิลปะ ส่วนยุคหลังสมัยใหม่ บอกว่าไม่จำเป็น ผลงานศิลปะสร้างขึ้นมาโดยไม่ต้องคำนึงถึงหลักเอกภาพ สามารถผสมผสานได้อย่างเต็มที่ หรือเราเรียกกันว่าลูกผสมหรือพันธุ์ผสม (Hybrid) ตัวอย่างเช่น การผสมกันทางด้านสถาปัตยกรรมในอาคารหลังหนึ่ง หรือผลงานทัศนศิลป์สมัยหลังนี้ มีลักษณะที่เป็นการข้ามทั้งทางด้านรูปแบบและเนื้อหา เช่น นำเอาผลงานศิลปะที่มีรูปแบบเหมือนจริงแบบกรีก หรือเรอเนสซองค์ มาผสมผสานกับมิคกี้เมาส์ก็ได้ และไม่ต้องไปสนใจเรื่องของหลักการของศิลปะในยุคสมัยใหม่ ซึ่งไม่ยินยอมให้ทำอย่างนั้นเรื่องของศิลปะกระแสหลักและศิลปะกระแสรอง (High Arts, Low Arts) ในยุคหลังสมัยใหม่ (postmodern) ก็ไม่สนใจเช่นเดียวกัน ถือว่าไม่เกี่ยว. ศิลปะในยุคหลังสมัยใหม่ ไม่มีการแบ่งแยก ศิลปะข้างถนนก็เป็นศิลปะที่มีคุณค่าได้ หรืองานศิลป์ที่ซื้อมาจากร้านขายของ ก็เป็นศิลปะได้เช่นเดียวกัน ศิลปะในยุคนี้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในพิพิธภัณฑ์เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องให้สถาบันเกี่ยวกับศิลปะยอมรับ รูปแบบไม่จำเป็นต้องเป็นสากล จะมีลักษณะท้องถิ่นหรือพื้นบ้านก็ได้ หัวใจสำคัญของยุคสมัยใหม่ ก็คือ การยอมรับความเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Specialist) ยุคหลังสมัยใหม่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่พวก หลังสมัยใหม่ต่อต้านความเป็นผู้เชี่ยวชาญนอกจากนี้ในยุคสมัยใหม่ ยังเน้นในเรื่องคนตะวันตก เป็นผู้นำของโลก หรือเป็นเอตทัคคะในทุกศาสตร์ เป็นคนที่ประกาศวาทกรรมที่จริงแท้ที่สุดอันปฏิเสธไม่ได้ พวกหลังสมัยใหม่ ปฏิเสธเรื่องนี้และกล่าวว่าชนกลุ่มน้อยที่เป็นรองในสังคมหรือคนชายขอบหรือใครก็แล้วแต่ที่เคยด้อยกว่าในยุคสมัยใหม่ สามารถที่จะประกาศวาทกรรมของตนได้เช่นเดียวกัน สามารถที่จะสร้างวาทกรรม ของตนเองได้เช่นเดียวกันเหมือนกับคนผิวขาวหรือคนตะวันตก จะเห็นได้ว่าในยุคหลังสมัยใหม่ เป็นการตีกลับยุคสมัยใหม่ อย่างชัดเจนในยุคสมัยใหม่ เป็นยุคซึ่งได้สืบทอดความคิดเรื่องผู้ชายเป็นใหญ่กว่าผู้หญิงมาตามลำดับ แต่ในยุคหลังสมัยใหม่ ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ บอกว่าผู้หญิงก็มีสิทธิของพวกเธอเท่าเทียมกับผู้ชาย ผู้หญิงก็มีวาทกรรมของตนเอง ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ผู้ชายเป็นฝ่ายกำหนด โดยเฉพาะโครงสร้างทางสังคม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆที่ออกมา ผู้หญิงเป็นเบี้ยล่างมาโดยตลอด เช่น การใช้นามสกุลของผู้ชายหลังแต่งงาน กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องชู้สาวรวมไปถึงเรื่องของการจัดการด้านทรัพย์สิน และกระทั่งความไม่เท่าเทียมในเรื่องของการประกอบอาชีพและค่าแรง จะเห็นถึงความไม่เสมอภาคกันเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน ในยุคสมัยใหม่ ยังให้ความสำคัญในเรื่องของความเจริญ และการพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยุคหลังสมัยใหม่ บอกว่าไม่จำเป็น เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ทำลายธรรมชาติ ทั้งความเป็นมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น การรณรงค์ต่างๆซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังสมัยใหม่นี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนิเวศวิทยา เรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เรื่องของสิทธิสตรี ล้วนเป็นความคิดที่ต่อต้านยุคสมัยใหม่แนวคิดของฟูโกที่พูดถึงเรื่องของ "ความจริง" ว่าอะไรคือ "ความจริง" ซึ่งทำให้ทุกๆคนเชื่อตาม ฟูโกบอกว่า "ความจริง" เหล่านั้นเป็นเพียงความจริงที่สร้างขึ้นมาโดยคนที่มีอำนาจ (Constructing Truth) เท่านั้น ไม่ใช่เป็นความจริงที่ต้องถือว่าเป็นสัจธรรม เปลี่ยนแปลงไม่ได้ อันนี้เป็นประเด็นที่สำคัญอีกอันหนึ่งที่นักสังคมวิทยา นักปรัชญา นักมานุษยวิทยาให้ความสนใจกันมาก "ความจริง" คุณสามารถที่จะสร้างขึ้นมาได้ โดยการประกาศวาทกรรมของคุณเอง ให้อำนาจกับตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องไปยอมรับวาทกรรมของคนอื่นหรือของคนที่มีอำนาจคำว่า "วาทกรรม" เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันคือ หมายถึง "ความรู้ ความคิด ความเห็น ที่มีอำนาจในการอธิบายให้คนอื่นเชื่อตาม" เช่น ปัจจุบัน เราเชื่อความรู้ ความคิด ของวิทยาศาสตร์แบบตะวันตกมากกว่าอย่างอื่น อะไรก็ตามม ที่ไม่ตรงกับหลักของวิทยาศาสตร์ หลักการอันนั้นจะถูกปฏิเสธ ด้วยเหตุนี้ วิทยาศาสตร์จึงเป็นเอกอุอัครมหาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ แต่ในยุคหลังสมัยใหม่ ไม่สนใจ ฉะนั้น วิทยาศาสตร์จึงเป็นวาทกรรมหลักในยุคสมัยใหม่ ซึ่งคุณไม่สามารถที่จะปฏิเสธมันได้ แต่บรรดานักคิดหลังสมัยใหม่ถือว่า อันนี้เป็นเพียงความจริงที่สร้างขึ้นมาโดยคนที่มีอำนาจ อันหนึ่งเท่านั้นชาร์ลส์ เจงค์ส สถาปนิกกล่าวว่า คำว่า “หลังสมัยใหม่” มันเริ่มต้นขึ้นมาเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ปี 1972 เวลา 15.32 นาที ที่เขาระบุลงไปอย่างนี้ก็เพราะ มันเป็นเวลาที่มีการระเบิดตึกสูงหลังหนึ่งในเซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา ตึกสูงดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นมา โดยใช้หลักการของ Bauhaus (เบาเฮาส์) หรือหลักของสมัยใหม่โดยสถาปนิกในกลุ่มนี้ วัตถุประสงค์ของการสร้างตึกสูงหลังนี้ก็เพื่อจะให้มันมีประโยชน์ใช้สอยสูงสุด แต่สำหรับการใช้ชีวิตในตึกหลังนี้ มันค่อนข้างแย่ และคนที่อยู่ในตึกสูงหลังนั้นก็ทนอยู่ต่อไปไม่ไหว ดังนั้นจึงมีการระเบิดตึกหลังนี้ลง ซึ่งเขาถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุค หลังสมัยใหม่ สำหรับสถาปัตยกรรมในยุคหลังสมัยใหม่ นั้น ลักษณะเด่นก็คือ มีการประดับตกแต่งมากขึ้น แต่สำหรับในยุคสมัยใหม่ ทุกอย่างต้องเป็นเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ทุกอย่างต้องมีความลงตัวพอดี แต่ในยุคหลังสมัยใหม่ คุณสามารถที่จะตกแต่งมันได้ และมีลวดลายประดับมากขึ้น ซึ่งอันนี้เป็นลักษณะอันหนึ่งของหลังสมัยใหม่ ในเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ หลายคนบอกว่า"หลังสมัยใหม่" มันเริ่มต้นขึ้นมาราวปี 1980 หลังจากยุคของศิลปะรูปแบบมินิมอล อาร์ต (Minimal Art) กับยุคของ(Conceptual Art) เริ่มจะมีบทบาทน้อยลง และเริ่มจะมีศิลปินพวกหนึ่งซึ่งมาจากอิตาลี ตั้งต้นที่จะเขียนรูปสีน้ำมัน ซึ่งเขียนเป็นภาพคนซึ่งออกไปทางรูปแบบเอ็กเพรสชั่นนิสม์ (Expressionist) อันนี้เป็นการปฏิเสธการลดเรื่องของรูปทรงในงานศิลปะลงมาจนกระทั่งแทบไม่มีอะไรเหลือในงานแบบมินิมอล อาร์ต (Minimal Art) และ (Conceptual Art) ในยุคหลังสมัยใหม่ เริ่มที่จะมีสีสันมากขึ้น มีการใช้สีน้ำมันล้วนๆในงานจิตรกรรม หลังสมัยใหม่ มีลักษณะในเชิงวัฒนธรรม ศิลปะในยุคสมัยใหม่ มันจบลงตรงที่มินิมอล อาร์ตและคอนเซปช่วล อาร์ต ซึ่งศิลปินทำอะไรต่อไปอีกไม่ได้ เช่นเดียวกับในเชิงความคิด ในเชิงวัฒนธรรม มีกระแสของผู้คนมากพอสมควรที่เห็นว่า ความคิดในอุดมคติเป็นสิ่งที่พึ่งพาไม่ได้อีกแล้ว มีคนซึ่งผิดหวังในอุดมคติต่างๆ มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเรื่องของศีลธรรมเหมือนกัน. ถ้าเราไม่มีความเชื่อที่แน่นอน เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ดีคืออะไร แล้วไม่ดีคืออะไร ในวัฒนธรรมหนึ่งสีขาวก็เป็นสีดำ สีดำก็เป็นสีขาว หรือดีคือเลว เลวคือดี อะไรเป็นตัวกำหนดว่าอะไรถูกอะไรผิด ศีลธรรม จริยธรรม มันจะตั้งอยู่บนฐานของอะไร?ซึ่งอันนี้เป็นคำถาม ไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีนอกจากนี้ โลกในยุคสมัยใหม่ พยายามที่จะ"สร้างโลกขึ้นมาให้มีความสมบูรณ์แบบ" ให้ทุกคนมีความสุข ให้เป็นโลกที่เต็มอิ่ม แต่พวกหลังสมัยใหม่ สงสัยว่า โลกแบบนี้มันสร้างขึ้นมาเป็นจริงได้หรือไม่ มันเป็นไปได้หรือเปล่าที่เราจะสร้างโลกขึ้นมาให้มีความสมบูรณ์แบบโดยให้ทุกคนมีความสุข อันนี้เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน? หลายคนในยุคสมัยใหม่มีความมั่นใจในเรื่องของความเจริญ ในความก้าวหน้า ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ ในการมีความคิดริเริ่ม แต่ก็มีศิลปินหลายคนซึ่งเริ่มสงสัยว่า เราจะทำอะไรต่อ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างเคยถูกทำมาแล้ว เราจะทำอะไรต่อไปศิลปินเริ่มที่จะเขียนภาพคนขึ้นมาใหม่ ศิลปินบางคนถึงกับบอกออกมาอย่างชัดเจนว่า "หวังว่าจะไม่มีอะไรใหม่ๆอยู่ในงานของผม ทุกสิ่งทุกอย่างที่สร้างขึ้นมา มันมาจากสิ่งเก่าๆ มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะสร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นมาอีกแล้ว"ไม่มีอะไรที่จะมาควบคุมหรือมาบอกว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดี หรืออะไรเป็นสิ่งที่ไม่ดี วัฒนธรรมของหลังสมัยใหม่ เห็นว่า การพัฒนาสามารถที่จะทำลายวัฒนธรรมได้ ไม่มีแก่นสารอีกแล้ว ไม่มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวอีกแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความแน่นอน โดยเฉพาะในวัฒนธรรมตะวันตก มีอะไรที่ค่อนข้างน่าสงสัยเกี่ยวกับแก่นสารทางวัฒนธรรมของเขา โดยเฉพาะเรื่องของ "การพัฒนา" หมายถึงความเจริญ ที่เราคิดว่าชาวตะวันตกมีความเจริญ แต่ในความเป็นจริง มันมีคนเพียงแค่ 20-30%เท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์จริงๆจากการพัฒนาหรือความเจริญที่พูดถึงนี้เราจะเห็นว่า ครึ่งหนึ่งของพลเมืองโลกยังอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่มากและที่น่าแปลกใจก็คือว่ามีนักเขียนคนหนึ่ง ที่เขียนหนังสือเรื่อง วิธีหาอาหารของคนจรจัด หรือคนเร่ร่อน ซึ่งไปหาอาหารในถังขยะในหนังสือเล่มนั้นได้ให้ความรู้เกี่ยวกับว่า คุณจะไปหาอาหารเหล่านั้นได้จากที่ไหน ตรงมุมไหนของเมือง ซึ่งคุณจะได้พบอาหารที่ดีที่สุด มีเศษอาหารเหลือมากที่สุด แล้วควรจะกินอาหารแบบไหนซึ่งไม่ได้เป็นผลเสียต่อสุขภาพมากจนเกินไปหลังจากหนังสือเล่มนี้ออกมา มีคนค่อนข้างต่อต้านมาก แต่นี้เป็นข้อเท็จจริง ที่บอกกับเราว่า มีคนเร่ร่อน มีคนจรจัด มีคนยากจนอยู่ตามเมืองใหญ่ๆจำนวนมาก ซึ่งอันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้แสดงว่าความเจริญ ที่เราถือว่าเป็นสิ่งที่ดีซึ่งจะนำผลประโยชน์มาให้กับพลเมือง มันเป็นสิ่งที่ล้มเหลว เป็นสิ่งที่ใช้งานไม่ได้ การพัฒนาที่เราได้เห็นมานี้ มักจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของเรื่องเล่า ซึ่งอยากจะบอกว่าเป็นโครงสร้างเชิงเอกภาพ อย่างเช่น เชื่อกันว่า ถ้าทุกคนนับถือศาสนาคริสต์ ทุกคนก็จะดีขึ้น ทุกคนจะมีความสุข หรือเป็นเรื่องของมนุษยนิยมก็ได้ หรือเป็นเรื่องของเหตุผลนิยม หรือเป็นเรื่องของสังคมนิยม ซึ่งอันนี้ก็เป็นโครงสร้าง หรือแนวความคิดที่เป็นอุดมคติ ซึ่งพยายามสร้างเอกภาพให้กับทุกคนให้เชื่ออย่างนั้น แล้วจะมีความสุข สังคมจะมีความสมบูรณ์แบบ แต่ความเป็นจริงที่ปรากฏ จะเห็นว่าระบบแบบนี้มันล้มเหลว และใช้การไม่ได้ หลายคนไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์อีกแล้ว ความคิดในเชิงการเมืองนั้น ที่อันตรายที่สุดก็คือ ความปรารถนาที่จะทำให้ทุกคนมีความสมบูรณ์แบบ มีความเต็มอิ่ม และมีความเป็นสุข เมื่อเราพยายามสร้างสวรรค์บนโลกนี้ ผลที่ตามมาก็มักจะเป็นนรก ถ้าเราพยายามให้ทุกคนเชื่อตามที่เราเชื่อ ทุกคนต้องมีความเชื่ออันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดนรกขึ้นมา มีสงครามเกิดขึ้น มีคนที่ไม่เห็นด้วย มีการต่อต้าน มีความขัดแย้ง ซึ่งถ้าเราไม่ยอมรับในความแตกต่างกันของคนอื่น ก็จะเกิดปัญหาขึ้นมามากมาย ในเรื่องของพิพิธภัณฑ์ โลกของศิลปะ สถาบันเกี่ยวกับศิลปะ รวมทั้งสื่อต่างๆ มันกลายเป็นเครื่องมือที่ตามกระแสของค่านิยมกันมาก อันนี้ทำให้ผลงานศิลปะที่เราเห็นในแกลลอรี่ (Gallery) หรือพิพิธภัณฑ์(Museum) โดยมากจะเป็นงานที่สร้างความอึกทึก ตื่นเต้น แต่ไม่ค่อยมีอะไรที่ลึกซึ้ง เพราะว่าภัณฑารักษ์และนักจัดนิทรรศการมักจะเน้นในการดึงคนจำนวนมากมาดูงาน ดังนั้นผลงานศิลปะมันจะต้องมีความน่าตื่นเต้น น่าประทับใจซึ่งตรงกันข้ามกับศิลปะสมัยใหม่ที่เน้นเรื่องความเงียบ ความสงบ เวลาดูก็ต้องพิจารณากันนานๆในโลกของศิลปะมีการเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีค่อนข้างมากในยุคหลังสมัยใหม่ ยกตัวอย่างเช่น การดูงานศิลปะในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่การอ่านศิลปะ เช่น เราสามารถอ่านศิลปะได้ตามหน้านิตยสาร หรือสูจิบัตรต่างๆ และมักจะเป็นเรื่องของทฤษฎีซึ่งค่อนข้างจะอ่านยาก ถ้าเราอ่านเกี่ยวกับศิลปะมันพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปดูผลงานศิลปะอีกแล้ว ทั้งหมดนี้ก็คือแนวโน้มที่เราจะเห็นในโลกของศิลปะปัจจุบันนี้ค่อนข้างมาก



บทความนี้อ้างอิงมาจาก



แบบฝึกหัดวิชา ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกเพื่อการนำที่ยว

แบบฝึกหัดบทที่ 1
1. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ตอบ ค. มนุษย์ไม่ต่างจากสัตว์ในแง่ของอารมณ์และคาวมรุ้สึกทางธรรมชาติ
2. การที่สังคมมีความซับซ้อนและมีความเจริญทางวัตถุเกิดจากสาเหตุสำคัญในข้อใด
ตอบ ค. เครื่องมือ
3. ข้อใดถูกต้องที่สุดเมื่อกล่าวถึงการศึกษางานศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในโลกตะวันตก
ตอบ ง. ภาพเขียนสีถ่ำลาสโคซ์
4. คำว่ามนุษย์ผู้ถนัดในการใช้มือตรงกับข้อใดมากที่สุด
ตอบ ก. โฮโมฮาบิลิส
5.ข้อใดเป็นมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งในยุโรปซึ่งทิ้งผมงานศิลปะไว้มากมายในถ่ำต่างๆ
ตอบ ข. โครมันยอง
6. ข้อใด มิใช่ แหล่งโบราณคดีซึ่งพบหลักฐานภาพสีสมัยหินเก่าอายุประมาณ 30,000-25,000BC.ในยุโรป
ตอบ ค. โอลดูเวย์
7.ข้อใดเป็นศิลปะถ่ำซึ่งพบโดยบังเอิญจากการเล่นซุกซนของเด้กสองคนเมื่อ ค.ศ.1940
ตอบ ข. ลาสโคซ์
8.ภาพเขียนสีในถ้ำอะไรมักถูกยกเป็นตัวอย่างของจิตรกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์เสมอ
ตอบ ก. อัลตามีรา
9.ข้อใดไม่ถูกต้อง
ตอบ ง. งานประติมากรรมรูปคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มักมีขนาดใหญ่
10.Menhir or Standing Stone เป็นอนุสาวรีย์หินแบบใด
ตอบ ข. หินตั้งเดี่ยว




แบบฝึกหัดบทที่ 2
1. พื้นฐานดั้งเดิมก่อนเกิดอารยธรรมตะวันตกก่อตัวขึ้นเมื่อใด
ก. ประมาณ 4,000 BC.
2.ภูมิภาคแถบเอเชียไมเนอร์เป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมโบราณในข้อใด
ก. เมโสโปเตเมีย
3. แม่น้ำไทกริส – ยูเฟรตีส พัดดินตะกอนมาท่วมสองฝั่งภาคใต้ของดินแดนเมโสโปเตเมียในฤดูใบไม้ผลิระหว่างเดือน …. ทำให้ภาคใต้เป็นดินแดนที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลอุดมด้วยปุ๋ยธรรมชาติเหมาะต่อการเพาะปลูกพืชพรรรธัญญาหารต่างๆข้อใดถูกต้อง
ข. มีนาคม – พฤษภาคม
4. พื้นที่ภาคเหนือของดินแดนเมโสโปเตเมียมีฝนตกชุกเมื่อใด
ค. ฤดูหนาว
5.ข้อใดเป็นชนชาติเก่าแก่ที่ริเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นมา
ก. ชาวสุเมอเรียน
6.ข้อใดเป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียมองโลกในแง่ร้ายและไม่เห็นคุณค่าของชีวิต
ก. สภาพภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทรายแปรปรวน
7. ชาวสุเมอเรียนไม่นิยมสร้างพระราชวังขนาดใหญ่ แต่นิยมสร้างซิกเกอแรท (Ziggurats) ศาสนสถานขนาดใหญ่กลางเมืองเป็นที่ประทับของเทพเจ้า ลักษณะคล้ายภูเขาห้อมล้อมด้วยกำแพงเมืองและบ้านเรือนประชาชน สร้างจากวัสดุประเภทใด
ก. อิฐตากแห้ง
8.ข้อใดเป็นการปกครองในระยะแรก ของอาณาจักรสุเมอเรียน
ง. สภาของผู้ชายที่บรรลุนิติภาวะ
9.ข้อใดเป็นอักษรที่เกิดจากการใช้ไม้เขียนลงบนแผ่นดินเหนียวแล้วผึ่ง หรืออบให้แห้ง
ก.คูนิฟอร์ม
10.ข้อใดเป็นชื่อของผู้ก่อตั้งอาณาจักรบาบิโลเนีย
ก. ฮัมมูราบี
11. “ พวก Canaanites ” เป็นคำเรียกชนชาติในข้อใด
ก. ชาวฟีนิเชียน
12. หลังจากถูกรุกรานโดยชาวยิวและชาวฟิลิสไตน์เมื่อประมาณ 1,300 – 1,000 BC. ดินแดนของชาวคะนาอันไนต์จึงเหลือเพียง “ ฟีนีเซีย ” ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งแคบๆของทะเลอะไร
ก. ทะเลเมดิเตอเรเนียน
13.ในปี 750 BC. ชนชาติใดได้เข้ามายึดครองดินแดนของชาวฟีนิเชียนจนเกือบหมด เหลือเพียงอาณานิคมที่เมืองคาร์เธจเท่านั้น
ก. ชาวแอสซิเรียน
14.ข้อใดเป็นต้นตระกูลของอักษรที่ชาวยุโรปใช้อยู่ในปัจจุบัน
ค. อักษรฟีนิเชียน
15.ชาวฮิบรูเป็นชนเผ่าเร่ร่อนในทะลทรายเมื่อ 1,400 BC. มี Moses เป็นผู้นำสำคัญในการปลดแอกจากการเป็นทาสของชนชาติใด
ข. อียิปต์
16.ข้อใดเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรอิสราเอลเมื่อประมาณ 1,013 – 973 BC.
ก. พระเจ้าเดวิด
17.อาณาจักรอิสราเอลถูกทำลายโดยชนชาติใด
ง. ชาวแอสซิเรียน
18. เหตุการณ์ที่เรียกว่า The Babylonian Captivity เกี่ยวกับชนชาติใด
ข.ชาวฮิบรู
19.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับศาสนายูดาย
ข. นับถือพระยะโฮวา
20.ผู้สถาปนาอาณาจักรเปอร์เซียเมื่อปี 549 BC. คือใคร
ง. พระเจ้าไซรัส


แบบฝึกหัดบทที่ 3
1. มหากาพย์อีเลียดและโอเดสซีเป็นของอารยธรรมกรีกยุคใด
ตอบ ยุคมืด
2.วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปเคารพของเทพองค์ใด
ข. อะเธนา
3. หัวเสาทำเป็นรูปใบไม้ตรงกับข้อใด
ค. หัวเสาแบบโครินเธียน
4. ความนิยามในการสร้างประติมากรรมหญิงเปลือยแทนรูปชายเปลือยเกิดขึ้นยุคใด
ง. ยุคเฮเลนิสติก
5. จิตรกรรมกรีกสมัยแรกมักทำ Back ground เป็นสีอะไร
ข. สีแดง
6. ลักษณะของงานจิตรกรรมที่นิยมวาดสีตัดกับพื้นในฉาก แล้วพัฒนาเป็นรูปเครือเถา และรูปเล่าเรื่องในนิทานปรัมปรา (Methology) และมหากาพย์ของโฮเมอร์อย่างกลมกลืนงดงามเกิดขึ้นในยุคใด
ค. ยุคคลาสสิค
7.การแสดงละครแพร่หลายมากในยุคใด
ค. ยุคคลาสสิค
8. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงละครแบบโศกนาฎกรรม (Tragedy) และสุขนาฎกรรม (Comedy)
ก. ตัวละครชายทั้งหมด
9.นักปรัชญากรีกที่ก่อตั้งสำนักอะคาเดมีขึ้นที่เอเธนส์คือใคร
ข. เพลโต
10.นักปรัชญาที่เชื่อว่า ปัญญานำมาซึ่งความรู้ และความรู้นำมาซึ่งความสุขสบาย ถ้าปราศจากความสุขสบายมนุษย์จะไม่เกิดปัญญา คือใคร
ค. อริสโตเติล
11.เทพองค์ใดมิใช่พี่น้องของมหาเทพซูส
ข. ฮาเดส
12. อาวุธของมหาเทพซูสคืออะไร
ค.สายฟ้า
13.เทพที่มักปรากฎกายในลักษณะสวมหมวกขอบกว้างสวมรองเท้ามีปีกถือคทาที่มีงูพันคือใคร
ค. เฮอร์มีส
14.เทพีแห่งการครองเรือนและเทพแห่งครอบครัวคือใคร
ค. เฮสเทีย
15. เทพีแห่งสงคราม ความฉลาดเฉลียว และศิลปศาสตร์
ข. อะธีน่า
16. เป็นฉนวนเหตุของสงครามกรุงทรอยคือใคร
ข. อะโพไดตี้




แบบฝึกหัดบทที่ 4
1. การปกครองในข้อใดทำให้เกิดจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)
ค. การปกครองแบบ Tretarchy
2.หลังจากเกิดจักรวรรดิไบแซนไทน์ ข้อใดเป็นรูปแบบการปกครองของจักรวรรดิดังกล่าว
ก. การปกครองแบบ Autocrat
3. “ โรมใหม่ ” หมายถึงข้อใด
ค. คอนสแตนติโนเปิล
4. ข้อใดไม่ใช่พื้นที่ของอาณาจักรโรมันตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ค. คาบสมุทรไอบีเรีย
5. ข้อใดเป็นการปกครองที่จักรพรรดิทรงมีอำนาจสูงสุดทั้งทางจักรวรรดิและทางศาสนา
ก. การปกครองแบบ Autocrat
6. จักรวรรดิโรมันตะวันออกใช้ภาษาอะไรในการสื่อสารอย่างเป็นทางการ
ก. กรีก
7. คริสต์ศาสนาแบบ Christian Hellenism มีศูนย์กลางที่ใด
ง.กรุงคอนสแตนติโนเปิล
8. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่หลายของศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์
ง. ยุโรปตะวันตก
9. ข้อใดไม่ใช่เมืองสำคัญทางศาสนาคริสต์ที่จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงจัดไว้เมื่อ ค.ศ. 325
ก. เอเธนส์
10. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ง. Novels คือ นิยายเรื่องยาว



แบบฝึกหัดบทที่ 5
1. ยุคกลางหมายถึงยุคซึ่งอยู่ระหว่าง
ตอบ ความเจริญโลกคลาสสิกกับยุโรปใหม่
2. ศิลปในยุคกลางตอนต้นเรียกว่า
ตอบ ยุคแห่งความสำเร็จพวกนอร์ธแมน
3. ยุคกลางตอนปลายเป็นยุคเสื่อมของ
ตอบ สถาบันศาสนาและศักดินา
4. ระบอบศักดินาหมายถึง ตอบ ระบอบการปกครองทางสังคมที่เน้นกรรมสิทธิ์ที่ดิน
5. ยุคกลางสิ้นสุดลงเมื่อใด…..ค้นพบทวีปอเมริกา
ตอบคริสโตเฟอร์ โคลัมปัส
6.Benefice ในสมัยกลาง หมายถึง
ตอบ จารีตการยกที่ดินของวัดให้เอกชนเช่า
7. Lord หมายถึง
ตอบ ขุนนางชั้นสูงซึ่งได้รับพระราชทานกรรมสิทธิ์ที่ดิน
8. พวก Crofter and Cotters ในสมัยกลางหมายถึง
ตอบ คนที่มีสถานภาพทางสังคมต่ำกว่าทาสติดที่ดินเพราะไม่มีที่ดินทำกิน
9. อำนาจของชนเผ่าเยอรมันมาจาก
ตอบ การใช้คมหอกสั้นปลายแคบและเครื่องมือเหล็ก
10. ชาวคริสต์เชื่อว่ากรุงโรมเป็นสถานที่ศักสิทธิ์เพราะ
ตอบ เป็นที่ฝังร่างของนักบุญ ชื่อ ปีเตอร์ซึ่งเป็นประมุของค์แรก
11. วิหารพระเจ้าชาเลอมาล ตั้งอยู่ที่ใด
ตอบ เมืองอาเคน
12.โบสถ์ All Saint Church ที่นอร์แธมตันไชร์ ประเทศอังกฤษ เป็นโบสถ์แบบ
ตอบ แองโกล-แซกซอน
13. สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์มีลักษณะเด่นคือ
ตอบอาคารมีประตูหน้าต่างโค้งกลม กำแพงหนา หน้าต่างบานเล็กและเรียวยาว
14. มหาวิหารดูแรห์ม มีลักษณะเด่นคือ ตอบ การทำซุ้มโค้งแบบไขว้
15. จุดเด่นของสถาปัตยกรรมกอธิคคือ
ตอบ การใช้เสาค้ำยันจากภายนอกและใช้เสาหินรองรับน้ำหนักของหลังคา
16.ใครเป็นผู้เขียนวรรณกรรมเรื่อง The City of god
ตอบ นักบุญ Augustin
17. มหากาพย์เรื่อง Chanson de Roland สะท้อนให้เห็นคุณธรรมด้านใด
ตอบ เห็นความกล้าหาร อุดมการณ์ จริยธรรม ความเสียสละและศรัทธาในศาสนาคริสต์
18. นิยายเพ้อฝันสมัยกลางเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ตอบ ความรักของหนุ่มสาว
19. The idea of Chivalry หมายถึง
ตอบ การแสวงหาความรักเทิดทูนบูชาต่อสตรีสูงศักดิ์
20. Canterberry Tales คือ
ตอบ นิยายเสียดสีสัง คมของ Chance



แบบฝึกหัดบทที่ 6
ตอนที่ 1 จงทำเครื่องหมายถูกหน้าข้อที่ถูกและทำเครื่องหมายผิดหน้าข้อที่ผิด
........ 1 ศูนย์ของศิลปเรอแนสซองส์สมัยแรก(Early Renaissance)เกิดที่กรุงโรม
........ 2 พ่อค้าสมัยเรอแนสซองส์พยายามเลียนแบบชีวิตความเป็นอยู่ของขุนนางสมัย
กลาง เช่น การอุปถัมป์การศร้างงานของศิลปิน
........ 3 ศิลปสมัยเรอแนสซองส์นิยมความงามตามแบบอย่างจารีตสมัยกลาง
........ 4 นักปรัชญามนุษยนิยมสนใจเรื่องราวและหลักทำทางศาสนา
........ 5 ตระกูลเมดีซี Medici เป็นผู้อุปถัมป์ศิลปินที่เมืองฟลอเรนซ์

ตอนที่ 2 จงจับคู่ให้ถูกต้อง
ก................1. การซื้อขายตำแหน่งศาสนาและใบไถ่บาป
จ................2. ลักษณะที่ผิดเพี้ยนไปจากแบบแผนดั้งเดิม
ญ...............3. จิตรกรรมที่ชื่อ Calling of Mathew
ฉ...............4. ริเริ่มจัดภาพแบบกระจายซ่อนภาพรางๆไว้นความมืดให้แสงจ้าเป็นจุดๆ
ฌ...............5. ทำท่าโลดโผนคล้ายแสดงละคร แต่งกายหรูหราทำผ้าเป็นจีบมุมเกินจริง
ข................6. ประติมากรรมเดวิด
ค................7. มีโครงสร้างละเอียดซับซ้อน แลดูพร่างพรายจากการเน้นแสงสว่างในอาคารเป็นจุดๆ
ง.................8. มีโครงสร้างเป็นเส้นโค้งอ่อนหวานเน้นรายละเอียดที่เป็นวิจิตรพิศดาร
ฌ................9. เน้นให้เกิดความเคลิบเคลิ้มในบรรยากาศมากกว่า
ซ...............10. จิตรกรรมชื่อ การนัดพบของคู่รัก



แบบฝึกหัดบทที่ 7
1. ศิลปะลัทธินีโอคลาสสิค หมายถึงอะไร
ตอบ รูปแบบศิลปะที่หวนไปนำปรัชญาและหลักสุนทรียภาพทางศิลปะ แบบคลาสสิกของกรีกโบราณมาสรรค์สร้างขึ้นใหม่ในยุโรป
2. ความตื่นเต้นจาการขุดพบเมืองอะไรในสมัยโรมันซึ่งผลักดันให้เกิดศิลปะนี่โอคลาสสิค
ตอบ เมืองเฮอร์คูลาเนียมและเมืองปอมเปอี
3. ศิลปินที่กล่าวว่าศิลป คือ ดวงประทีปของเหตุผล ซึ่งต่อมากลายเป้นความเชื่อของศิลป
ตอบ ศิลปะนีโอ-คลาสสิก
4. ศิลปลัทธินีโอ-คลาสสิค มีแนวทางการสะท้อนผลงานทางศิลปะอย่างไร
ตอบ ต้องแสดงความถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์ การวางท่าทางที่สง่างามตามแบบอย่างของศิลปะกรีก-โรมันโดยเน้นความถูกต้องตามหลักความเป็นจริง
5. ผลงานของดาวิดชื่อ คำสาบานของพวกฮอราติไอ ต้องการสะท้อนแนวคิดอะไรแก่ผู้ชม
ตอบ แนวคิดเกี่ยวกับการรักชาติของนักรบโรมัน 3 คน ที่รับดาบจากบิดาไปสู่ศรัตรู
6. ภาพเขียนชื่อ โรงพยาบาลโรคระบาดที่เจฟฟา เป็นผลงานของใคร
ตอบ ดาวิด
7. ขณะที่ศิลปลัทธินีโอ-คลาสสิค คำนึงถึงความถูกต้องตามหลักการและกฏเกณฑ์ทางศิลปะ แต่ลัทธิโรแมนติกกลับยึดถือและให้ความสำคัญต่อสิ่งใด
ตอบ อารมณ์และจิตใจของศิลปินมากกว่าเหตุผล
8. ภาพ แพเมดูซา The Raft of the Medusa เป็นผลงานของใคร
ตอบ เจอริโคลต์
9. ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเดอลาครัวเป็นอย่างยิ่งชื่อว่าอะไร
ตอบ ภาพเขียนสีน้ำมันขนาดใหญ่ ชื่อ เสรีภาพนำหน้าประชาชน
10. แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานในศิลปะลัทธิสัจจะนิยมเน้นเรื่องใดเป็นสำคัญ
ตอบ เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของมนุษย์
11. ศิลปะลัทธิเอมเพลสชั่นนิสม์ปรากฎอย่างเป็นทางการเมื่อใดและสร้างผลอย่างไร
ตอบ ค.ศ. 1874 สร้างความตื่นตระหนกและถูกประณามจากนักวิจารณ์ศิลปะแนวอนุรักษ์นิยมอย่างรุนแรง
12. ศิลปินที่ได้รับว่าเป็นผู้นำของกลุ่มลัทธิอิมเพลสชั่นนิสม์ คือใคร
ตอบ อีดูวาร์ด มาเนต์
13. อิมเพลสชั่นนิสม์เป็นจุดเริ่มต้นของสิลปสมัยใหม่ เพราะเปลี่ยนจาการเทคนิคการสร้างงานด้วยเกลี่ยสีมาเป็นเทคนิคอย่างไร
ตอบ เป็นแบบป้ายสีเพื่อให้สีผสมผสานกันในสายตาผู้ดู สนใจมิติทางสุนทรียศาสตร์
14. ศิลปินลิทธิอิมเพลสชั่นนิสม์ที่มีความสูงในการเสียงภาพคนและแง่มุมและทัศนียวิทยาชองสถาปัตยกรรมและทิวทัศน์ โดยใช้สีได้อย่างสดใส มีบรรยายกาศใสสะอาดราวกับสิ่งต่างๆเป็นของเหลว คือ ใคร
ตอบ ปิแอร์ ออกุสต์ เรอนัวร์
15. ศิลปะลัทธิโพสท์-อิมเพลสชั่นนิสม์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ มีอะไรบ้าง
ตอบ 1 กลุ่มที่เน้นการแสดงออกด้านอารมณ์
2 กลุ่มที่เน้นความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางศิลปะ
16. ผู้สนับสนุนศิลปินกลุ่มโพสท์-อิมเพลสชั่นนิสม์คือใคร
ตอบ โรเจอร์ ฟราย กับ คลีฟ เบลล์
17. ความเชื่อในการสร้างสรรค์งานของพอล เซซานน์ เป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ การประสานสัมพันธ์ของสีมีมากเท่าไร ความกลมกลืนกันก็มีมากเท่านั้น
18. แวนโก๊ะมีพัฒนาในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างไi
ตอบ ระยะแรกสะท้อนภาพชีวิตที่หม่นหมองและแสดงออกแบบลัทธิเรียลิสม์ ตอนหลังใช้แปรงแต้มสีหนาเป็นริ้วรอยแปรงที่แสดงออกึงความรุนแรงของอารมณ์อย่างที่สุด
19. ผลงานที่ได้รับยกย่องของแวนโก๊ะมี 3 ภาพ คือ
ตอบ คนกินมัน ดอกทานตะวัน ราตรีประดับดาว
20. เมื่อกล่าวถึงจิตรกรคนสำคัญที่สร้างสรรค์ผลงานอย่างไม่มีทฤษฎี ไม่มีการบันทึกถึงความสามารถในด้านบุกเบิกสุนทรีภาพใหม่โดยงานที่เขาสร้างขึ้นนั้นเปรียบเสมือนการ บันทึก สิ่งที่เขาเห็นและเข้าใจโดยปราศจากความคิดเห็น ไม่มีความสงสาร ไม่มีอารมณ์รู้สึกไม่มีการกล่าวหาและไม่มีการส่อเสียดใดๆ หมายถึงศิลปืนคนใด
ตอบ ทรูลูส โรเทรค

















แบบฝึกหัดบทที่ 8
1. ศิลปะลัทธิโฟวิสม์ มีความเป็นมาอย่างไร
ตอบ Fauvism มาจากภาษาฝรั่งเศส Les Fauves แปลว่า สัตว์ป่า จึงหมายถึง ลัทธิสัตว์ป่า อันเป็นคำเปรียบเปรยรูปแบบศิลปะเมื่อเปรียบเทียบผลงานของศิลปินสมัยเรอแนสซองส์ที่งามตามหลักสุนทรียภาพเดิม
2. แนวทางการสร้างสรรค์งานของกลุ่มสะพานสะท้อนเรื่องราวอะไรบ้าง
ตอบ ความสับสน ความอัปลักษณ์ของสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและศาสนา
3. แนวทางการสร้างผลงานของกลุ่มม้าสีน้ำเงินเป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ แสดงออกทางอารมณ์อย่างรุนแรงที่แฝงความสนุกสนานจากการใช้สี เส้น และการแสดงลีลาคล้ายเสียงดนตรีสลายตัว
4. ศินปินที่ได้ชื่อว่าเป็นลัทธิอิมเพลสชันนิสม์ คือใคร
ตอบ เอ็ดวาร์ด มูงค์
5. ศิลปะลัทธิคิวบิสม์ หรือ Cubism Art มีรากฐานอย่างไร
ตอบ มีรากฐานมาจากผลงานของเซซานน์
6. ศิลปะลัทธิคิวบิสม์ เชื่อในเรื่องใด
ตอบ การแสดงออกทางศิลปะนอกจากจะไม่ต้องแสดงเชิงการถ่ายทอดเชิงความเป็นจริงตามตาเห็นแล้วยังจะต้องกลั่นกรองรูปทรงด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปทรงให้เหลือเพียงแก่นแท้ที่มั่นคงแข็งแรง
7. ภาพ เกอนีแค ค.ศ.1937 เป็นผลงานของศิลปินคนใด
ตอบ ปาเบล ปิคัสโซ
8. ผลงานศิลปที่ชื่อ บ้านที่เลสตัค ในพิพิธภัณฑ์ที่กรุงเบอร์น เป็นผลงานของศิลปินคนใด
ตอบ จอร์จ บราค
9. ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาของศิลปนามธรรมคือใคร
ตอบ แคนดินสกี จิตรกรชาวรัสเซีย
10. จิตกรลัทธินามธรรม เอ็กเพรสชันนิสม์ ที่มีชื่อเสียงและโดดเด่น ได้รับฉายาว่าเป็นจิตรกรแบบ Action Painting คือใคร
ตอบ แจคสัน พอลลอค
11. ศิลปลัทธิดาดามีพัฒนาการความคิดเริ่มแรกมาอย่างไร
ตอบ เตือนให้มนุษย์ตระหนักถึงผลลัพธ์ของสงคราม
12. การสลายตัวของศิลปินลัทธิดาดาเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ การเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์โลกดีขึ้น และงานศิลปแนวลัทธิเซอร์-เรียลิสม์กำลังได้รับความนิยม ใน ค.ศ.1922
13. ศิลปลัทธิดาดาชื่อ น้ำพุ และภาพโมนาลิซามีหนวด เป็นผลงานของใคร
ตอบ มาร์เซิล ดูชัมป์
14. ศิลปินลัทธิเซอเรีย ลิสม์ที่ใช้ ทฤษฎีอันฉับพลันของความเข้าใจอันไร้เหตุผล อันมี
พื้นฐานมาจากการตความหมายเกี่ยวกับปรากฎการณ์ของจิตร อันแปรปรวนคือใคร
ตอบ ซันวาดอร์ ดาลี
15. ความหมายเชิงปรัชญาของ เซอร์ –เรียลิสม์ คืออะไร
ตอบ เชื่อในความจริงมากกว่ารูปแบบความสัมพันธ์บางอย่างที่ถูกละเลยมาก่อนหน้านี้









แบบฝึกหัดบทที่ 9
1. ศิลปะป๊อปอาร์ต มีลักษณะอย่างไร
ตอบ เกี่ยวข้องกับบุคคลในสังคมปัจจุบัน ที่กำลังได้รับความสนใจหรือวิพากษ์วิจารณ์มิใช่เทพนิยาย ประวัติศาสตร์หรือศาสนา
2. ศินปินที่นำรูปร่างของอาหารซึ่งเป็นที่นิยมของสมัยนี้มาจำลองด้วยการใช้ผ้ายัดนุ่นคล้ายหมอนเพื่อสร้างความเร้าใจแก่ผู้พบเห็นคือใคร
ตอบ แคลส์ โอลเดนเบอร์ก
3. จิตรกรอเมริกันที่กล่าวถึงศิลปป๊อปอาร์ต ว่าในความคิดของฉันเป็นศิลปะที่ไร้ยางอายที่สุดแห่งวัฒนธรรมของพวกเขาคือใคร
ตอบ รอย ลิชแทนสเตน
4. ศิลปะป๊อปอาร์ต รูปแบบอย่างไร
ตอบ เป็นศิลปนามธรรมเน้นขอบเขตที่คมกริบ มีการจัดวางทิศทางและลีลาของเส้น รูปร่าง หรือจุดบนพื้นระนาบให้เกิดการลวงตา
5. Kinetic Art หมายถึงอะไร
ตอบ เป็นศัพท์ทางฟิสิกส์เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในทางศิลปะกาโบ
6. ผลงานชื่อหน้าผาที่ถูกห่อ ในศิลปแบบ Conceptual Art สร้างสรรค์โดยศิลปินชื่ออะไร
ตอบ คริสโต
7. สร้างสรรค์ทางศิลปชื่อเขียนขดก้นหอย คือผลงานของใคร
ตอบ George Steinmetz.





แบบฝึกหัดบทที่ 10

1. พระสันตปาปาทรงนำดินแดนอิตาลีส่วนใหญ่เข้าไปอยู่ภายใต้การคุ้มครอง ของ
อาณาจักรโรมัน นศักสิทธิ์ในสมัยใด
ตอบ สมัยยุคกลาง
2. Papal State เกิดขึ้นเมื่อใด
ตอบ ปลายศตวรรษที่ 15
3. ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างชาติอิตาลี ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
คือใคร
ตอบ พระเจ้าวิกเตอร์เอมมานูเอลแห่งซาร์ดีเนีย
4. ในอดีต สนามกีฬา Colosseum จุคนได้กี่คน
ตอบ 67000-80000 คน
5. จุดกำเนิดของเพลง ทรี คอย ออฟ เดอะ ฟาวน์เท่น ที่กรุงโรมคืออะไร
ตอบ น้ำพุเทรวี
6. มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เป็นมหาวิหารที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในนครรัฐวาติกันเนื่องจาก
อะไร
ตอบ เชื่อกันว่าเปนสถานที่ฝังร่างของนักบุญปีเตอร์ หนึ่งในสาวก สิบสององค์ของพระเยซู
7. นักวิทยาศาสตร์ทางอิตาเลี่ยนซึ่งทดลองเรื่องความเร็วของวัตถุที่ตกลงมาจากที่สูง ณ หอ เอนปิซา
คือใคร
ตอบ กาลิเลโอ
8. ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นใหญ่ว่าหกเหลี่ยม เนื่องจากอะไร
ตอบ รูปทรงทางกายภาพของประเทศ
9. หอไอเฟล ตั้งอยู่ที่ใด
ตอบ ปารีส ฝรั่งเศส

10. พระราชวังแวร์ซายส์ ตั้งอยู่ในกรุงปารีสเป็นพระราชวังที่สวยงาม น่ามหัศจรรย์ยิ่งแห่งหนึ่งของโลก
สร้างโดยใคร
ตอบ พระเจ้าหลุยส์ ที่ 14
11. ภาพเขียนโมนาลิซาองดาวินซี ปัจจุบันอยู่ที่ใด
ตอบ พิพิธภัณฑ์ลูฟร์
12. สวิตเซอแลนกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในปี 1863 เมื่อใครจัดทัวร์
ครั้งแรกจากอังกฤษ ไปยังสวิตเซอร์แลนด์
ตอบ โทมัสคุ๊ก
13. พวกที่ย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์สวิตเซอแลนเมื่อ10000 ปีก่อน
คริสตศักราชคือคนกลุ่มใด
ตอบ กลุ่มนักล่าสัตว์และคนเร่ร่อน
14. ในยุคจักวรรดิ โรมันอันศักสิทธิ์ สนธิสัญญา Verdun ในปี 834 ทำให้พื้นที่ทางทิศตะวันตกของสวิ
ตเซอแลนด์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Lothair ที่ 1 ส่วนทางด้านตะวันออก อยู่ภายใต้การ
ปกครองของกษัตริย์องค์ใด
ตอบ Louis the German
15. ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1และ2 สวิตเซอแลนด์ได้วางตัวเป็นกลางทางการทหารบทบาทสำคัญ
เพียงอย่างเดียวของประเทศสวิตเซอแลนด์ในสงครามโลกครั้งที่ 1 คืออะไร
ตอบ การส่งสภากาชาติเข้ามาช่วยเหลือ
16. ประเทศสวิตเซอแลนด์เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา เซ็งเก็นซึ่งมีใจความสำคัญว่าอย่างไร
ตอบ นักท่องเที่ยวที่มีใบอนุญาติเซงเก็นแบบมัลติเพิลของประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถเดินทางเข้าออกประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่ารวม 26 ประเทศ
17. อาหารขึ้นชื่อของซูริกคืออะไรบ้าง
ตอบ เกซเนตเซลเตส และราทส์เฮเลนโตฟ
18. ประสาทที่ปรากฎในการ์ตูนของวอล ดิสนีย์นำรูปแบบมาจากประเทศอะไรในสวิตเซอแลนด์
ตอบ ปราสาทตูน
19. เมืองต้นกำเนิดของชัส ยี่ห้อเอ็ม เมนทัลและชอคโกแลตทรงสามเหลี่ยมท็อปเบิลโรน คือเมืองใด
ตอบ เบิร์น
20. สัญลักษณ์ของเมืองเบิร์นคืออะไร
ตอบ หมี
21. อนุเสารีย์สิงโตมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ เป็นอนุเสารีย์ที่สร้างให้กับทหารที่เป็นองครักษ์ให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งเสียชีวิต 786 คนใ นการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศส
22. เมืองศูนย์กลางการจัดนิทรรศการหลัก อีกเมืองหนึ่งของประเทศสวิตเซอแลนด์ คือ
ตอบ ซูริค
23. พิพิธภัณฑ์ใดได้รับยกย่องว่าสวยงามเป็นอันดับสองของโลก และมีชื่อเสียงมากที่สุดของมาดริด
และเป็นแหล่งสะสมภาพเขียนล้ำค่าแห่งหนึ่งของโลกคือ ที่ใด
ตอบ พิพิธภัณฑ์ปราโด
24. ปลาซ่า มายอร์ มีความสำคัญอย่างไร
ตอบ เคยเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ราชาภิเษก สนามสู้วัวกระทิง
25. ผลงานส่วนใหญ่ของ ปิกัสโซ ที่บาเซโลนาสเปน อุทิศให้แก่ใคร
ตอบ เพื่อนรักของเขา คือ ซาบาร์เตส
26. เทศกาลวิ่งวัวกระทิงของเมืองแปรมโปรนาในสเปนจัดขึ้นในวัน Siant Fermin Day
นักท่องเที่ยวเดินทางมาเพื่ออะไร
ตอบ ชมการแสดงโชว์หวาดเสียวของวัวกระทิง
27. ข้าวหมกสเปนมีต้นกำเนิดจากที่ใด
ตอบ บาเลนเซีย
28. Sangria เครื่องดื่มยอดนิยมของชาวสเปน มีส่วนผสมของอะไรบ้าง
ตอบ ไวน์แดง บรั่นดี น้ำอัดลม และผลไม้
29. ชาวโครแอทอพยพมาจากทางเหนือของยุโรปช่วงศตวรรษที่6และอยู่ภายใต้การปกครองของ อาณาจักร
ตอบ ไบแทนไซต์
30. หลังสงครามโกลครั้งที่2 มีการตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียในปี 2488 ภายใต้การ นำของจอมพลติโต ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ เซอร์เบีย โครเอเซีย สโลวีเนีย บอสเนีย เฮอร์เซโกวินา มอนเตเนโกร มาซิโดเนีย มณฑลโคโซโว และวอยโวดินา
31. ประเทศไทยได้รับการรับรองเอกราชของโครเอเชียเมื่อไร
ตอบ ค.ศ. 1990
32. ปัจจุบันมหาวิหาร เซน สตีเฟนที่มีเมืองซาเกรปมีลักษณะทางศิลปแบบใด
ตอบ แบบนีโอ กอธิค
33. มหาวิหารเซนต์เจมส์ที่เมืองไซเบนิค ซึ่งสร้างขึ้น 1431-1535 เป็นสถาปัตกรรมที่ผสมผสาน อะไรบ้าง
ตอบ ดาลมาเซียท้องถิ่น ศิลปะทางเหนือของอิตาลีและศิลปะทัศคานี
34. ได้รับฉายา แคลิโฟเนีย แห่งเมืองโครเอเชียคือเมืองใด
ตอบ Trogir
35. ชื่อเดิมของประเทศตุรกีคืออะไร
ตอบ จักรวรรดิออตโตมัน
36. House of Verjin Mary บ้านของพระแม่มารีมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ เป็นที่สุดท้ายที่พระแม่มารีอาศัยและสิ้นพระชนม์ที่นี่
37. เมืองเอฟฟิซุส สำคัญอย่างไรต่อจักรวรรดิโรมัน
ตอบ เคยเป็นที่พักอาศัยของชาวโยนกและเคยเป็นเมืองหลวงต่างจังหวัดของโรมัน
38. พระราชวังโดลมาบาชเช่ สร้างโดยใคร
ตอบ สุลต่านอับดุล เมอซิท
39. เหตุใดนาฬิกาทุกเรีอนของพระราชวังโดลมาบาชเช่จึงชี้ที่ 09.05 เป็นนิจนิรันดร์
ตอบ เพื่อเป็นการรำลึกของการจากไปเมื่อวันที่ 10 พ ย. 1938 ของอาคาล อาตาเติร์ก
40. อาหารประจำชาติตุรกีคืออะไร
ตอบ กะบับ



วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย
395 Years Pinto’s Pérégrinação : an Account of Historiography or Adventurous Novel
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
Bidya Sriwattanasarn
บทคัดย่อ


บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต( Fernão Mendez Pinto ค.ศ.1509-1583) เรื่อง “Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ จนมีการใช้ชื่อของปินโตเล่นคำเชิงล้อเลียนว่าพูดจริงหรือเท็จอย่างสนุกสนานโดยชนชาติศัตรูของโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส และการพระราชทานที่ดินให้พวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา จึงเป็นที่มาของการตรวจสอบว่าหนังสือฉบับนี้มีสถานะเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือเป็นเพียงนิยายผจญภัย
คำสำคัญ: แฟร์เนา เมนเดซ ปินโต , หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย , ทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส, สมัยอยุธยา
S_bidya@hotmail.com

Abstract
Memoir of Fernão Mendez Pinto(1509-1583), “Pérégrinação”,1st published in 1614, informed us about contemporary environment, geography, history, culture, customs, traditions and events of the lands he visited, including with his exciting and unbelievable biography. This caused enemies of the Portuguese nation in Europe and even some one in Portugal, used his name so funny as a banter-pun. His memoir had been generally referred by Thai historians for long time since H.R.H. Prince Damrong up to the present day, concerning to issues of the role of the Portuguese royal bodyguard and the royal conferring land for them to be their settlement and to proceed their religious ritual in Ayutthaya Period. So, it was the main problem to examine that the book was a account of historiography or just an adventurous novel.
Key Words: Fernão Mendez Pinto, an account of historiography or an adventurous novel,Portuguese royal bodyguards, Ayutthaya period
S_bidya@hotmail.com

คำนำ
“Pérégrinação หรือ Pérégrinaçam” แปลว่า “long tour,long travels” ตรงกับคำว่า “Peregrination“ หรือ “Pilgrimage” หมายถึง การเดินทางการท่องเที่ยว หรือการเดินทางแสวงบุญ
เมื่อแบร์นารด์ ฟิกูอิเยร์(Bernard Figuier) แปลงานเขียนของปินโตเป็นภาษาฝรั่งเศสในค.ศ. 1628 เขาใช้ชื่อ ว่า “les voyages adventureux de fernando mendez pinto 1537-1558” และมีชื่อภาษาอังกฤษโดยการแปลของเฮนรี โคแกนว่า “The Voyages and Adventures of Fernand Mendez Pinto” (1653)
อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์และผู้อ่านจำนวนไม่น้อยกลับมีความสงสัยต่อความเก่งกล้าสามารถของปินโต บางคนประนามว่างานเขียนของเขาเป็นเรื่องโกหกเพื่อความมีชื่อเสียงของตน แม้แต่ชาวโปรตุเกสเองก็ยังนำชื่อของเขาไปล้อเลียนว่า “ Fernâo , Mendez? Pinto!(Fernâo, do you lie? Yes, I lie! )” ทั้งๆที่ปินโตไม่เคยระบุว่า “Pérégrinação” เป็นนิยายประโลมโลก ( Fiction) แต่กลับบอกว่า บันทึกของเขาเปรียบเป็น “ตำรา”ในการสำรวจดินแดนและการเดินเรือไปยังดินแดนต่างๆในโลกตะวันออก ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของบันทึกฉบับนี้



ประวัติของปินโต
ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน
ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา (missionary) เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ (Pragal) ใกล้เมืองอัลมาดา (Almada) ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583
ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531 : 115) ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1534-1546) นักประวัติศาสตร์บางคนนำหลักฐานของฝ่ายไทยเข้าไปตรวจสอบความน่าเชื่อถือในเอกสารของเขาหลายประเด็น และชี้ให้เห็นความคลาดเคลื่อนของศักราชที่เขาอ้างถึง
หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1 (Philip I of Portugal,1581-1598 และทรงเป็นกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน - Philip II of Spain,1556-1598) ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา
งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”

รูปแบบการนำเสนอ
งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ อาทิ เหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคต บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์เดินทางเข้ามายังสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531: 115) เป็นต้น
ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง สิ่งที่ผลักดันให้เขาเดินทางไปยังตะวันออก คือ ธรรมชาติของลูกผู้ชาย เขาแสดงความขอบคุณพระเจ้าและสวรรค์ที่ช่วยให้รอดพ้นจากภยันตรายมาได้(Henry Cogan, 1653 :1-2) ส่วนเฮนรี โคแกนระบุว่า จุดมุ่งหมายในการแปลหนังสือ“Pérégrinação” จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ คือ ต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเกิดความพึงพอใจและกระตุ้นให้มีการสำรวจและค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นบทเรียนให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรืออับปาง เพื่อทัศนศึกษาดินแดนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของ“คนป่าเถื่อน”(Henry Cogan, 1653 : A-B)
จุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ “Pérégrinação” อย่างไม่อาจมองข้ามได้ งานของปินโตจึงได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง อย่างน้อยๆฉบับแปลภาษาฝรั่งเศสในปีค.ศ.1628 ก็ถูกอ้างอิงโดยซิมอง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de Laloubère) ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อกล่าวถึงจำนวนเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาก่อนหน้าการเข้ามาของตน (จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์ เล่ม 1,2510 : 502) ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าหากลาลูแบร์เคยได้ยินการเสียดสีงานเขียนของปินโตมาบ้างก่อนที่จะเดินทางเข้ามาสยาม เขาควรจะได้ตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานจากผู้รู้พื้นเมืองชาวสยามอีกครั้ง ก่อนจะตีพิมพ์งานเขียนของตนที่กรุงอัมสเตอร์ดัมในปีค.ศ.1714 เพราะงานเขียนของปินโตเคยถูกล้อเลียนมาแล้วอย่างอื้อฉาว แต่กลับไม่ปรากฏข้อวิพากษ์ความน่าเชื่อถือของปินโตในงานของลาลูแบร์

คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม
บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091) ปินโต กล่าวว่า
“ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่น
สัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....”
การเข้าร่วมรบในกองทัพสยามครั้งนั้นเป็นการถูกเกณฑ์ หากไม่เข้าร่วมรบก็จะถูกขับออกไปภายใน 3 วัน ด้วยเหตุนี้จึงมีชาวโปรตุเกสถึง 120 คน จากจำนวน 130 คน อาสาเข้าร่วมรบในกองทัพสยาม เหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเป็นศึกเมืองเชียงกรานซึ่งเกิดขึ้นในค.ศ.1538 (พ.ศ.2081) คลาดเคลื่อนไปจากที่ระบุในหลักฐานของปินโต 10 ปี แม้ว่าสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจะทรงอ้างจากหนังสือของปินโตก็ตาม
เรื่องราวในหนังสือ Pérégrinação สอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน อาทิ การกล่าวถึง โดมิงกุส ดึ ไซซัส (Domingos de Seisus) ซึ่งเคยถูกจองจำและรับราชการเป็นนายทหารในกรุงศรีอยุธยา (กรมวิชาการ , 2531: 109) ก็ได้รับการยืนยันในงานเขียนของจูอาว เดอ บารอส (João de Baros) เช่นกัน (กรมวิชาการ,2531 : 95) เป็นต้น นอกจากนี้ อี.ดับเบิลยู. ฮัทชินสัน(E.W. Hutchinson) ก็อ้างตามหลักฐานของปินโตว่า
“ทหารโปรตุเกสจำนวน 120 คนซึ่งสมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงจ้างเป็นทหารรักษา
พระองค์(bodyguards)ได้สอนให้ชาวสยามรู้จักใช้ปืนใหญ่”
ดร.เจากิง ดึ กัมปุชชี้ว่า บทบาทของทหารอาสาชาวโปรตุเกสในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชอาจส่งผลให้มีการเริ่มปรับปรุงตำราพิชัยสงครามภายใต้การช่วยเหลือของที่ปรึกษาชาวโปรตุเกส จนเป็นที่มาของการตั้ง “กรมทหารฝารั่งแม่นปืน” ใน หนังสือ“ศักดินาทหารหัวเมือง” ซึ่งประกอบด้วยทหารเชื้อสายโปรตุเกสจำนวน 170 นาย จนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใกล้เคียงกับจำนวนของทหารอาสาโปรตุเกส 120 คน ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช

ความน่าเชื่อถือ
หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง วิลเลียม คอนเกรฟ (William Congreve, 1670-1729) นักเขียนบทละครชาวอังกฤษได้แทรกบทกวีในบทละครชื่อ “Love for Love” (ค.ศ.1695) เยาะเย้ยว่า “Mendez Pinto was but a type of thee, thou liar of the first magnitude.” (กรมศิลปากร, 2526 : 42 ) เซอร์ ริชาร์ด เบอร์ตัน ( Sir Richard Burton) ในงานเขียนชื่อ “The Third Voyage of Sinbad, the Sailor” ระบุว่า การผจญภัยของปินโตมีลักษณะคล้ายกับเรื่องราวในนิยายอาหรับและตั้งฉายาเขาว่า “ซินแบดแห่งโปรตุเกส”
ดับเบิลยู. เอ.อาร์. วูด (W.A.R. Wood) ชี้ว่าควรจะอ่านงานเขียนของปินโตในฐานะที่เป็นเรื่องราวของชายชราที่ได้เดินทางกลับไปสู่มาตุภูมิอีกครั้งหนึ่งเพื่อความบันเทิง มิใช่เป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นวันต่อวัน และตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของปีศักราชในบันทึกชิ้นนี้ด้วย
อย่างไรก็ดี ดึ กัมปุช อดีตกงสุลใหญ่โปรตุเกสเมื่อค.ศ.1936 กลับชี้ว่าหลักฐานของปินโตแสดงให้เห็นว่าเขาเคยเดินทางเข้ามายังสยามจริง (Campos, 1940 : 14-15) และสิ่งที่สนับสนุนความน่าเชื่อถือในงานของปินโต คือ การยกงานเขียนในชั้นหลังๆมาเทียบเคียงความเป็นไปได้และความถูกต้องของเรื่องราวโดยเฮนรี โคแกน (ดูคำประกาศในฉบับแปลของHenry Cogan,1653 : ไม่มีเลขหน้า)
นักประวัติศาสตร์ไทยหลายคนเลือกใช้ข้อมูลของปินโตมาอ้างอิงโดยตลอด อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา มานพ ถาวรวัฒน์สกุลในเรื่องขุนนางอยุธยา(2536) อ้างเรื่องยศขุนนางสมัยอยุธยาตอนกลาง สุเนตร ชุตินทรานนท์ในเรื่องบุเรงนองกะยอดินนรธา(2538) ก็อ้างเอกสารของปินโตซึ่งระบุตรงกับราล์ฟ ฟิตซ์ (Ralph Fitch)ว่า พระเจ้าบุเรงนองนำเอาเรื่องการขอช้างเผือกมาเป็นสาเหตุของสงครามระหว่างสยามกับพม่าใน ค.ศ.1569 เป็นต้น
งานเขียนปินโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคล (Campos,1940,P.21) ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามความแม่นยำของเวลา (Timing) ที่ระบุในบันทึกของเขา และปินโตยังยืนยันว่าเขาได้รับจดหมายฝากฝัง (recommended letter) จากผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัว (Goa) เพื่อให้ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งโปรตุเกส (Cogan,1653 : 317) แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการอ้างอิงพยานบุคคลของเขา
หนังสือ “ Pérégrinação ” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสยามน้อยมาก ซึ่งอาจจะอธิบายได้ว่าตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศูนย์กลางของโปรตุเกสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ที่มะละกา ปินโตจึงให้ความสำคัญต่อมะละกามากกว่ากรุงศรีอยุธยา การที่ราชสำนักโปรตุเกสสนใจดินแดนทางใต้ของพม่าและชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจีนก็น่าจะมีผลต่อโครงเรื่องของปินโตเช่นกัน การที่เขามีฐานะเป็นเพียงกลาสีเรือ นักผจญภัย แสวงโชค มิใช่บุตรขุนนางหรือนักการทูต มิใช่พ่อค้าหรือนายทหารที่ถูกส่งเข้ามาติดต่อกับสยามโดยตรง ทำให้เนื้อหาส่วนใหญ่ในหนังสือของเขาเน้นกล่าวถึงสถานที่ต่างๆตามชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกที่เขาเคยเดินทางไปถึงมากกว่า

หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา
หากนักเรียนประวัติศาสตร์คนใดจะนำงานเขียนของปินโตมาใช้ในการตรวจสอบเรื่องราวเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าค่ายโปรตุเกส ความสัมพันธ์ของคนภายในค่าย ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับราชสำนักอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับมะละกา กัว มาเก๊า และราชอาณาจักรโปรตุเกส รวมไปถึงอาชีพ จำนวนคนและความเป็นอยู่ในค่ายโปรตุเกสสมัยอยุธยา ก็อาจจะต้องใช้ความพยายามในการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชิ้นนี้มากพอสมควร ปินโตระบุว่านักสอนศาสนาก็จำเป็นต้องเผยแพร่ศาสนาภายใต้นโยบายของราชสำนักหรือผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัวเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป เมื่อนักบุญฟรานซิส ซาเวียร์(St. Francis Xavier)จะออกไปเผยแพร่ศาสนาในญี่ปุ่น ท่านก็ต้องเดินทางจากมะละกาไปยังกัว เพื่อรับฟังนโยบายของผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งอินเดียเสียก่อน (กรมศิลปากร, 2526 : 35) การที่ปินโตเคยเป็นทูตของข้าหลวงโปรตุเกสแห่งมะละกาไปยังรัฐต่างๆในภูมิภาคแถบนี้ อีกทั้งยังเคยเป็นทหารและนักสอนศาสนาของโปรตุเกสด้วย เขาจึงน่าจะเป็นบุคคลที่มีเกียรติพอที่จะได้รับความเชื่อถือจากผู้มีฐานะเป็นศัตรูชาติโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน แต่เขาก็ไม่เคยถูกนักประวัติศาสตร์โปรตุเกส อาทิ ดูอาร์ตึ บาร์บูซา(Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส(João de Baros )และคาสปาร์ คอร์รีอา(Caspar Correa)เสียดสีเลยแม้แต่น้อย
การกล่าวว่ากองทัพพม่านำกระบือและแรดมาลากปืนใหญ่เพื่อทำสงครามกับสยามในฉบับแปลของโคแกน ทำให้วูด(Wood)ชี้ว่างานเขียนของปินโต “เป็นหลักฐานเชิงจินตนาการ” ข้อเสนอของวูดอาจทำให้นักเรียนประวัติศาสตร์เห็นคล้อยไปกับคอนเกรฟที่ระบุว่า ปินโตเป็นคนขี้ปด โชคดีที่ ดร. เจากิง ดึ กัมปุชแย้งว่า ปินโตไม่เคยระบุคำว่า “แรด” ในงานเขียน คำศัพท์ที่เขาใช้ คือ คำว่า “bada หรือ abada”นั้น ในคริสต์ศตวรรษที่16 หมายถึง สัตว์ป่า หรือ สัตว์เลี้ยงที่กลายเป็นสัตว์ป่า แม้ว่าจะมีนักเขียนบางคน เช่น บาทหลวง กาสปาร์ ดึ ครูซ (Fr. Gaspar de Cruz) จะใช้คำดังกล่าวเรียกแรดก็ตาม ส่วนบาร์โบซา (Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส (João de Baros ) และ คาสปาร์ คอร์รีอา (Caspar Correa) ต่างก็ใช้คำว่า “ganda” ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตเมื่อกล่าวถึงแรด ขณะที่นักรวบรวมพจนานุกรม ชื่อ บลูโต (Bluteau, 1727) แปลคำว่า “abada คือ สัตว์ป่าชนิดหนึ่ง” ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญในการโต้แย้งประเด็นที่มีการแปล “abada” ว่า “แรด” (Campos, 1959 : 228) แม้ในภาษามาเลย์จะมีคำว่า “badâk” แปลว่า “แรด” แต่ในภาษาอาหรับก็มีคำว่า “abadat” หมายถึง “สัตว์ที่มีรูปร่างเป็นสีน้ำตาล” หรือ “สัตว์ป่า” หรือ “สัตว์เลี้ยงที่หลบหนีไปจนกลายเป็นสัตว์ป่า” ดึ กัมปุช ระบุว่า คำว่า “abada” ถูกแปลว่า “แรด” ในคริสต์ศตวรรษที่17 ดังนั้น “abada” ในบันทึกของปินโตจึงถูก ฟิกูอิเยร์และโคแกนแปลว่า “แรด” ในเวลาต่อมา ปินโตจะใช้คำว่า “abada” เมื่อกล่าวถึง “จามรี(yaks)” ซึ่งเป็นสัตว์ต่าง (beast of burden) ในตาตาเรีย (Tataria) เพราะไม่มีศัพท์ดังกล่าวในภาษาโปรตุเกส และใช้คำภาษาอาหรับว่า “abida” ในที่อื่นๆอีกร่วม12ครั้งเมื่อกล่าวถึงสัตว์ใหญ่คล้ายแรดหรือสัตว์ต่างชนิดอื่นซึ่งไม่อาจหาคำมาใช้แทนได้

สรุป
ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ แต่ในสภาวะที่ยุโรปเพิ่งจะพ้นจากยุคแห่งการจุดไฟเผาหญิงสาวที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดและยังคงเคร่งต่อจริยธรรมทางศาสนา มีใครบ้างที่จะกล้าเปิดเผยต่อสาธารณชนว่าตนเองเคยรับประทานเนื้อมนุษย์เพื่อประทังชีวิตกลางทะเลหลังจากถูกโจรสลัดโจมตี ข้อถกเถียงในงานของปินโตอาจจะมีอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นใดบ้างที่ปราศจากคำถามและความเคลือบแคลง งานของปินโตถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชก็เพราะบันทึกของเขาเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่งแล้ว
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐฯ เคยได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างยิ่งว่ามีความแม่นยำในเรื่องศักราชและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ (นิธิ, 2525 : 65) แต่ต่อมานักประวัติศาสตร์บางท่านก็เคยตั้งข้อสงสัยต่อสถานภาพดังกล่าว (นิธิ, 2525 : 6) ซึ่งถือเป็นความไม่เที่ยงของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันอาจจะมีผู้ใช้บันทึกของปินโตมาตรวจสอบความแม่นยำของเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งอย่างจริงจังในอนาคตบ้างก็ได้

เอกสารอ้างอิง
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2523. ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา.
นิธิ เอียวศรีวงศ์และอาคม พัฒิยะ. 2525. หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.
มานพ ถาวรวัฒน์สกุล. 2536. ขุนนางอยุธยา.
ราชบัณฑิตยสถาน. 2550. กฎหมายตราสามดวงฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่ม1.
วิชาการ. กรม . 2531. 470 ปีสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและโปรตุเกส.
ศิลปากร. กรม. 2536. การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ.1537-1558.
สันต์ ท. โกมลบุตร(แปล). 2510.จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์ เล่ม 1.
สุเนตร ชุตินทรานนท์. 2538. บุเรงนองกะยอดินนรธา.
Campos, Joaquim de. 1959. “Early Portuguese accounts of Thailand” Journal of The Siam
Society Volume VII.
Cogan, Henry. trans. 1653. The Voyages and Adventures of Fernand Mendez Pinto.
Collins, The. 1987. English Portuguese Portuguese English Dictionary.
Hutchinson, E.W. 1940. Adventurers in Siam in the Seventeen Century.
Wood, W.A.R. 1959 . “Fernão Mendez Pinto’s Account of Events in Siam” Journal of The
Siam Society Volume VII.

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร(อาจารย์ประจำภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์)
A Ph.D. Candidate of Historical Archaeology Program, Graduate School, Silpakorn University (Lecturer of Department of Tourism and Hotel Studies, Faculty of Arts and Sciences, Dhurakij Pundit University.)
อ้างจากwww.wikipedia.com
Fernand Mendez Pinto, op.cit., p.262
Fernand Mendez Pinto, ibid., p.262-278
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม/2, (กรุงเทพ: ไอเดีย สแควว์, 2535), หน้า 259-260
E.W. Hutchinson, “Adventurers in Siam in the Seventeen Century”(1940), p.22
Joaquim de Campos, op.cit., pp.8-9
“ศักดินาทหารหัวเมือง” เป็นเอกสารฉบับหลวงมีตรา 3 ดวงประทับ หอสมุดแห่งชาติได้มาจากกรมมุรธาธร เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 เป็นหลักฐานจำแนกโครงสร้างราชการและศักดินาในสังกัดสมุหพระกลาโหม ได้แก่ กรมอาษา กรมเขนทอง กรมทวนทอง กรมพระตำรวจ กรมสนมทหาร กรมพลพัน กรมทนายเลือก กรมรักษาพระองค์ กรมอาษาญี่ปุ่น กรมอาษาฝารั่ง ฯลฯ เคยตีพิมพ์เผยแพร่หลายครั้ง ล่าสุดตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือกฎหมายตราสามโดยราชบัณฑิตยสถานเมื่อพ.ศ.2550
ราชบัณฑิตยสถาน, กฎหมายตราสามดวงฉบับราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์ตามต้นฉบับหลวง เล่ม1, 2550, หน้า 1135 คำแนะนำองค์ปาฐกของ มร.อี.จี. เซบัสเตียน(E.G.Sebastian) ในบทความชื่อ “Fernão Mendez Pinto’s Account of Events in Siam” ( Journal of The Siam Society Volume VII, 1959, p.196 ) ของดับเบิลยู. เอ. อาร์. วูด ( W.A.R. Wood )